หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕) - ๒๔๖๐ reorganised.pdf/32

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๙

กระษัตราธิราช) นั้น ปีหนึ่งนำสิ่งของมาถวายแต่เล็กน้อยครั้งหนึ่ง ถึงสามปีจึงมีสิ่งของมาถวายมาก ๆ เพราะเปนการประชุมใหญ่ประเทศที่อยู่นอกเขตรหัวเมืองทั้งเก้านั้น (หัวเมืองทั้งเก้านั้นคือสิบแปดมณฑลเดิมของประเทศจีน) สี่หนึ่ง (สี่หนึ่งนั้นสามสิบปี) จึงมาเฝ้าครั้งหนึ่ง แลมีสิ่งของในประเทศมาถวายเพื่อให้เห็นว่าซื่อสัตย์สุจริต แต่เกาหลีก๊กนั้นรู้แบบธรรมเนียมอยู่บ้างจึงอนุญาตให้สามปีมาจินก้ง[1] ครั้งหนึ่ง ประเทศทั้งหลายที่อยู่ไกลนั้นคือเจียมเสีย (ประเทศจามปา) งังน่าง (ญวน) ซีเอี้ยง (โปตุเกต) ซอลี้ (ประเทศซอลี้นั้นอยู่ใกล้เคียงโปรตุเกต เข้าใจว่าสะเปน) เอี่ยวอ๎วา (ชวา) ปะหนี (ปัตตานี) ซำฟัดฉิ (ประเทศซามฟัดฉินั้นเคยขึ้นชวา) เสี้ยมหลอฮก (สยาม) จินละ (คือลแวก สมัยนี้จีนเรียกกังฟู้จ้าย คือกัมพูชา) เคยมาถวายของเสมอ ฝ่ายเราต้องใช้จ่ายมาก ตั้งแต่นี้ต่อไปจงห้ามประเทศทั้งหลายเหล่านั้นเสียว่าไม่ต้องมาถวายของทุกปี 


  1. ประเพณีจินก้ง หรือจิ้มก้องนี้ เปนการที่เข้าใจผิดกันในข้อสำคัญเรื่องทางพระราชไมตรีในระหว่างจีนกับประเทศอื่น ไม่ใช่แต่ไทยเท่านั้น จีนตั้งประเพณีว่า ชาวต่างประเทศที่ไปค้าขายเมืองจีนนั้น ต่อมีเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีนจึงให้ไปมาค้าขาย ต่างประเทศต้องการประโยชน์ในทางค้าขาย จึงจัดเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ถึงต่างประเทศที่มาค้าขายเมืองไทย ก็มีราชบรรณาการมาถวายเช่นนั้น แต่จีนตีขลุมเอาว่า ประเทศที่ถวายเครื่องราชบรรณาการนั้นยอมขึ้นเมืองจีน เครื่องราชบรรณาการเปนทำนองของส่วย เช่น ถวายต้นไม้ทองเงิน แต่ประเพณีทั้ง ๒ อย่าง ผิดกันมาก ว่าโดยย่อ เครื่องราชบรรณการจิ้มก้องไม่จำกัด แต่ของส่วยถวายกับต้นไม้ทองเงินจำกัดจะขาดไม่ได้