หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๖๔) - ๒๔๗๙.pdf/55

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
10
 
(๗) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๒)

มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพระยา ทูลการซึ่งพระเชษฐาธิราชขาดคอช้างทั้งสองพระองค์ แล้วเชิญเสด็จเข้ามาในพระนครเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ท่านจึงให้ขุดเอาพระศพเจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยาไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้น ให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นอารามแล้วให้นามชื่อว่าวัดราชบูรณะ ที่เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยาชนช้างกันถึงพิราลัย ให้ก่อพระเจดีย์สององค์ไว้ที่เชิงตะพานป่าถ่าน

ศักราช ๗๙๓ ปีฉลูตรีศก[1] (พ.ศ. ๑๙๖๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินท์เจ้าเสวยราชสมบัติณเมืองนครหลวง ท่าน จึงให้เอาพระยาแก้วพระยาไท และครอบครัว กับทั้งรูปพระโครูปสิงห์สัตว์ทั้งปวงมาด้วย ครั้นถึงพระนครศรีอยุธยา จึงให้เอารูปสัตว์ทั้งปวงไปบูชาไว้ณวัดพระศรีรัตนธาตุบ้าง ไว้วัดพระศรีสรรเพชญ์บ้าง

ศักราช ๗๘๖ ปีมะโรงศก[2] (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์ สมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมารท่านเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกเป็นโลหิต


  1. ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๗๙๓ กุรศก
  2. . . . . . . . . . . . . ว่า ศักราช ๘๐๐ มะเมียศก