ได้ ๑๑ สอก และทองหล่อพระพุทธเจ้าหนัก ๕๓๐๐๐ ชั่ง ทองคำ หุ้มนั้นหนัก ๒๘๖ ชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ ชั้น ๒ ขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำ ๒ ขา ศักราช ๘๘๐ ปีมะเมียสัมฤทธิศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๔๑) สมเด็จ พระรามาธิบดี แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม และแรกทำสารบัญชี พระราชพิธีทุกเมือง ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีรษะจรเข้ คลองทับนางจะไปปากน้ำเจ้าพระยาตื้น เรือใหญ่จะเดินไปมาขัดสน จึงให้ชำระ ขุด ได้รูปเทพารักษ์ ๒ องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ จาฤกชื่อองค์หนึ่ง ชื่อพระยาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังกร ในที่ร่วมคลองสำโรงกับ คลองทับนางต่อกัน จึงให้พลีกรรมบวงสรวง แล้วรับออกมาปลูกศาลเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ณเมืองพระประแดง ศักราช ๘๘๖ ปีชวดฉอศก(๒) (พ.ศ. ๒๐๔๗) ครั้งนั้นงา เบื้องขวาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกออก อนึ่งในเดือน ๗ นั้น คนทอดบัตรสนเท่ห์ ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก ศักราช ๘๖๗ ปีฉลูสัปตศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๔๘) น้ำน้อย ข้าวตายฝอยสิ้น อนึ่งแผ่นดินไหวและเกิดอุบาทว์หลายประการ ศักราช ๘๖๘ ปีขาลอัฐศก(๔) (พ.ศ. ๒๐๔๙) ข้าวแพง เป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้อง เบี้ย ๘๐๐ ต่อเฟื้อง เกวียนหนึ่ง ๑๑
(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (๒) ......ว่าศักราช ๘๘๖ วอกศก (๓) ...ว่าศักราช ๘๘๘ ระกาศก (๔)....ว่าศักราช ๘๘๘ จอศก