หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๑) - ๒๔๘๑.pdf/10

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(ฆ)

พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๒ โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๔๕ โรงพิมพ์วัชรินทรบริษัท พิมพ์ครั้งที่ ๓ รวมอยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส

(๖) พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ.๑๑๗๐ กล่าวความในระหว่าง ๔๔ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๑๘ จนถึง พ.ศ. ๒๑๖๑ ตรงกับรัชชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาตลอดถึงรัชชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ

สังเกตได้ว่า ผู้แต่งเรื่องนี้ตั้งใจจะทำบันทึกราชพิธีต่าง ๆ สมัยโบราณไว้ให้ปรากฏเป็นแบบแผน เช่น การตั้งตำแหน่งข้าราชการ พิธีประจำเดือนตลอดปีที่แยกเป็นฝ่ายพุทธศาสตรและไสยศาสตรนั้นทำอย่างไรบ้าง ก็กล่าวให้เห็นเป็นอย่าง ๆ ไป

พระราชพิธี ๑๒ เดือน ของกรุงกัมพูชา ที่ปรากฏในพงศาวดารฉะบับนี้ เป็นอย่างเก่า แต่คงจะเลือนไป ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ สมเด็จพระหริรักษรามาธิบดี (นักองด้วง) ได้ทรงพื้นขึ้นทำเป็นราชประเพณีอีก บางข้อผิดเพี้ยนไปจากพิธีเดิมบ้าง ดังปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงกัมพูชาที่กล่าวมาแล้วในหมายเลข (๑)

ต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้ พิธีบางอย่างต่างจากครั้งสมเด็จพระหริรักษรามาธิบดีอีกเหมือนกัน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในเรื่องนิราศนครวัดซึ่งพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ต้นฉะบับพงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ.๑๑๗๐ นี้ เป็นภาษาเขมร พระองค์แก้วนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก