หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/77

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๖
กฎ ๓๖ ข้อ

17
๑๗อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการทังปวง ถ้าราษฎรจะ
ร้องฟ้องหาความแก่กันด้วยเนื้อความสิ่งใด ๆ ถ้าแลลูกความ
เหนเนื้อความฃองตัวนั้นพิรุทจะแพ้แลยอมแก่กันก็ดี กระ
ลาการพิจารณาถึงชี้สำนวรขาดก็ดี ถึงใบสัจปรับมาแล้วก็ดี
ถ้าจะหาอาาแก่กระลาการ ให้กระลาการเก่าเรียกเอา
สินไหมพิไนยก่อน จึ่งให้ส่ง ถ้าผู้ไปเบิกมิฟัง จเอาไปให้ได้
ให้จับเอาตัวผู้ไปเบิกนั้นไปว่าแก่ลูกขุนณะสานหลวงให้บัง
คับบันชา
กฎให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก
18
๑๗อนึ่ง หลวงจ่าแสนญากอนรับพระบันทูลใส่เกล้าฯ
สั่งว่า ถ้ามีผู้ร้องฟ้องณโรงสานกรมใด ๆ ให้มีโฉนฎฎีกาหมาย
ให้มุนนายแลนายบ้านายอำเพอส่ง ๆ ได้แต่คน
คน ยังมิ
ได้นายประกันยังมิได้ถาม ถ้าแลผู้ต้องอัถคดีนั้นไปทำฎีกา
ทูลเกล้าฯ ถวาย แลร้องฟ้องณะโรงสานกรมใด ๆ จะแก้เนื้อ
ความซึ่งเขาฟ้องไว้ยังมิได้แก้กันนั้น อย่าให้รับเอาหนังสือฟ้อง
ไว้พิจารณา ถ้าถวายฎีกาไซ้ ให้สับสามเสี่ยง แล้วให้คืนใบ
ฎีกาแลตัวให้แก่นาย ถ้าร้องฟ้องกรมใด ๆ ให้เอาว่าลูกขุน
ณสานหลวง ให้ปรับไหมเอาตัวเปนโทษตามพระอายการ
รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๑ ปีฉลู เอกศก
ม.ธ.ก.