หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๓) - ๒๔๘๑.pdf/81

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๐
กฎ ๓๖ ข้อ

อย่าให้รับพิจารณา ถ้าเปนตระทรวงของตัว จึ่งให้รับเอา
พิจารณา ถ้าเหนแก่ค่าฤทชารับเอาเนื้อความซึ่งมิได้เปน
ตรทรวงของตัวมาพิจารณา จะเอาเปนโทษตามพระอายการ
รับสั่งให้ไว้ณวัน + ค่ำ จุลศักราช ๑๐๗๖ ปีมะเมีย ฉ้อศก
24
๒๔อนึ่ง ออกยาธรรมารับพระราชโองการใส่เกล้าฯ สั่ง
ว่า ให้ขุนโรงขุนสานทังปวงถามความ ให้ถามเปนสองสถาน
อย่าให้ถามเปนสี่สถาน เนื้อความจะยืดยาวไป ให้ถาม
เหมือนชาววังตำรวจ์ใน
รับสั่งให้ไว้[1] ณวัน ๑๕ +  ค่ำ จุลศักราช ๑๐๘๐ ปีจอ
สำเรจ์ธิศก
25
๒๕อนึ่ง มีกฎให้ไว้แก่กระลาการทังปวง แลในกฎนั้น
เรื่องราวสำเนากฎต้องด้วยกฎ ซึ่งอาาอุธรกระลาการเก่า
ใหม่นั้นแล้ว แต่ออกเนื้อความข้อหนึ่งว่า ถ้าลูกความติดใจ ทำ
ฎีกาทูลเกล้าทูลกระหม่อม[2] ถวายกล่าวโทษกระลาการ แล
ทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เอากระลาการเก่า
มาพิจารณา ถ้าแลกระลาการเปนขุนโรงขุนสาน ก็ให้คัดเอา

  1. ต้นฉะบับ: ไว
  2. ทั้งสองฉะบับเขียน กระหมอม
ม.ธ.ก.