ของเจ้าของมิให้ล่วงอำนาจของพระราชาได้ โดยเหตุที่การยึดถือที่ดินเป็นปัจจัยแห่งอิสสระภาพและความเลื่อมใส พระราชาจะขวนขวายอย่างสุดกำลังแห่งความสามารถมิให้สิทธิของเจ้าของเกิดเป็นอันตรายต่อตน กับทั้งในฐานะที่มีหน้าที่ป้องกันประโยชน์ของบ้านเมือง พระราชาคงบากบั่นเข้าจัดการให้ที่ดินเกิดมีผลตามความต้องการของประชากร และให้ราษฎรรับส่วนแบ่งอันสมควรแก่ตำแหน่งและกำลังด้วย
ด้วยเหตุหลายประการดังกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ในสมัยเก่า สิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินไม่บริบูรณ์เหมือนสมัยปัจจุบัน ในเบื้องต้นมักเป็นสิทธิร่วมกันของหมู่ชน ไม่มีการโอนให้กันได้ หรือเป็นแต่สิทธิที่จะทำหรืออาศัยในที่ ในกาลต่อมาเมื่อกรรมสิทธิแยกออกจากการครอบครองได้แล้ว ก็มากระทบกระเทือนกับอำนาจของรัฐอันกีดขวางมิให้กวางขึ้น สิทธิของเจ้าของที่ดินจึงถูกจำกัดต่าง ๆ ไม่บริบูรณ์ เช่น สิทธิในสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายประเพณีรับรู้แต่ดึกดำบรรพ์ เพิ่งมีกรรมสิทธิอย่างเดียวสำหรับทรัพย์ทั้งสองประเภทแต่ในสมัยปัจจุบันนี้เอง[1]
4.เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ระบอบที่ดินในประเทศไทยนี้ เป็นการน่าประหลาดที่กฎหมายไทยไม่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายฮินดูหรือกฎหมายรามัญ หากจะได้รับบ้างก็เป็นข้อเบ็ดเตล็ดไม่สำคัญ นักนีติศาสตร์ฮินดูรับรู้สิทธิของบุคคลเหนือที่ดินแต่เเนิ่นนาน และแยกกรรม
- ↑ ความจริงแม้ในสมัยปัจจุบันกรรมสิทธิในที่ดินยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ และมีกฎข้อบังคับพิเศษหลายประการ แต่ทั้งนี้ก็เนื่องจากสภาพแห่งที่ดินนั้นเอง และความสำคัญแห่งที่ดินในทางเศรษฐกิจ ไม่เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง