หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/17

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
11
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

6.ในประเทศอินโดจีน ตามหนังสือต่าง ๆ ของผู้ที่ศึกษาลัทธิธรรมเนียมของชนเชื้อชาติไทยอันอาศรัยอยู่ในประเทศนั้น ได้ความว่า ระบอบที่ดินในหมู่ชนเหล่านั้นมีหลักว่า ประมุขหรือเจ้าเป็นเจ้าของที่ดินภายในอาณาเขตต์ดุจเดียวกับประเทศอัสสัม เช่น ในเมืองหัวพันทั้งหก ตามบาดหลวงบูรเลต์กล่าวว่า "ชาวบ้านไม่รู้จักกรรมสิทธิในที่ดิน อาณาเขตต์เป็นของเจ้าชีวิตหรือพระเจ้าอผ่นดินหลวงพระบาง ประชาชนเป็นแต่ผู้เก็บกินหรือผู้ทำ ก่อนที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองประเทศนี้ ภาษีอากรที่ดินซึ่งชาวบ้านชำระทุกปีจึ่งดูเหมือนหนึ่งว่าเสียไปเพื่อเป็นค่าอาศรัยที่ของเจ้าชีวิตร์อยู่"[1] พวกไทยที่อาศรัยภูเขาในตังเกี๋ยอยู่ก็เช่นเดียวกัน "ผู้เป็นกวานเจ้า (คือ ผู้เป็นอิสสระในอาณาเขตต์แห่งหนึ่ง) เป็นเจ้าของที่ดินทั่วอาณาเขตต์ที่ตนมีอำนาจปกครอง ชาวนาจึงไม่เป็นเจ้าของที่ ๆ ตนทำ ไม่มีสิทธิที่ะจโอนให้แก่ใคร และเมื่ออพยพออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่น ก็ต้องเวนคืนที่แก่กวานบ้านเพื่อให้กวานบ้านแบ่งปันให้กับชาวบ้านที่เหลืออยู่"[2] ตามลัทธิธรรมเนียมของชาติที่เรียกชื่อว่า เมือง ซึ่งอาศรัยอยู่ภูเขาทางทิศตวันตกเฉียงใต้ของตังเกี๋ยอยู่ ผู้เป็นกวานลาง หรือโถตี คือ หัวหน้า "ถือตนเป็นเจ้าของที่ดินทุกแปลงในอาณาเขตต์ ทั้งแปลงที่มีผู้ทำเป็นนาเป็นสวน และแปลงซึ่งยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าด้วย หากให้ราษฎรเข้าครอบครองอยู่ก็โดยทรงเมตตาให้อาศรัยอยู่"[3] สำหรับหมู่ชนเชื้อชาติไทยอื่น ๆ ที่อยู่ใน


  1. A. Bourlet, Socialisme dans les Hua Phan.
  2. E. Diguet, Etude de la langue tai.
  3. Ch. Robequain, Le Than Hao.
ม.ธ.ก.