ประเทศอินโดจีน ผู้ศึกษาขนบธรรมเนียมทำข้อสังเกตทำนองเดียวกัน ฉะนั้น ข้อที่ว่าประมุขเป็นเจ้าของที่ดินในอาณาเขตต์นั้นจึ่งเป็นหลักสำคัญในองค์การณ์ชุมนุมชนเชื้อชาติไทยทั้งหลาย
แต่ในบรรดาชุมนุมชนเหล่านั้น หลักที่ว่านี้ถือประกอบไปกับการแบ่งปันที่ดินในระหว่างประชาชน กล่าวคือ ผู้เป็นประมุขหายืดถือที่ดินเพื่อประโยชน์ของตนเช่นเจ้าของธรรมดาไม่ แต่ผู้เป็นประมุขแบ่งปันให้แก่ประชาชนเป็นเนื้อที่มากหรือน้อยตามตำแหน่งอำนาจของผู้รับตามที่ประมุขแต่งตั้งไว้ เช่น ท่ามกลางชุมนุมชนเชื้อชาติไทยที่อาศรัยภูเขาในประเทสตังเกี๋ยอยู่ ผู้เป็นกวานเจ้าเลือกเอาที่ดินแปลงใหญ่ ๆ ไว้เพื่อตนเองเสียก่อน แล้วประทานแปลงหนึ่งมีเนื้อที่น้อยกว่าแต่ยังใหญ่ให้แก่ผู้เป็นเจ้าองหรือเธอหลายซึ่งเป็นผู้ช่วยในการบริหารบ้านเมืองและเป็นที่สองรองลงมาจากกวานเจ้าตามทำเนียบันดาศักดิ์ แล้วกวานเจ้าแบ่งให้แก่นายบ้านทุกคนมีเนื้อที่น้อยกว่าอีก ต่อนั้นแบ่งให้แก่ท้าวทุกคนลดหลั่นลงมาตามฐานานุรูปและยศศักดิ์ ในหมู่บ้านทุก ๆ หมู่ผู้เป็นกวานบ้านแบ่งปันนาในระหว่างครัวเรือนในนามของกวานเจ้า เมื่อชาวบ้านคนหนึ่งอพยพออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น หรือเมื่อมีคนใหม่มาอยู่เพิ่มเติม ก็มีการแบ่งปันกันใหม่ ในจำพวกไทยขาวซึ่งอยู่ทางแม่น้ำแดง ตามประเพณีเดิมมีการแบ่งปันนากันทุก ๆ ๓ ปี ในระหว่างครัวเรือน ๆ หนึ่งได้รับเนื้อที่มากน้อยตามจำนวนคนที่ต้องเลี้ยงดูอยู่ในครัวเรือนนั้น วิธ๊แบ่งปันนานั้น คือ แบ่งนาออกเป็นแปลง ๆ แล้วชาวบ้านต่างก็มาจับสลากเอา เมื่อพ้น ๓ ปีแล้ว ชาวบ้านนั้น ๆ ต่างก็เอาที่นาเหล่านั้นมาคืนรวมเป็นผืนแผ่นเดียวกัน