มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อนึ่ง กรมขุนไชยาทรงนิพนธ์หนังสือภาษาเยอรมัน เรื่อง กสิกรรมในประเทศไทย พิมพ์ปี ๒๔๕๒๑ ซึ่งมีหมวดว่าด้วยประวัติศาสตร์ระบบอที่ดินอยู่ด้วย[1]
12.ตามบทพระอัยยการเบ็ดเสร็จ ปรากฎว่า ในตอนต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ระบอบที่ดินมีหลักสำคัญ ๓ ประการ กล่าวคือ
๑.พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินในพระราชอาณาจักร์
๒.ราษฎรซื้อขายที่ดินแก่กันไม่ได้
๓.สิทธิของราษฎรเหนือที่ดินเบาบางมาก เพราะผูกพันอยู่กับการครอบครอง หากละทิ้งที่และมีผู้อื่นเข้ามาทำ เจ้าของเดิมก็ขาดสิทธิทันที
จะบรรยายลักษณะ ๓ ประการนี้ตามลำดับ โดยชี้ให้เห็นว่า หลักนั้นมีผลที่ปฏิบัติมาแต่ดั้งเดิมอย่างไร และมีการแก้ไขผ่อนผันกันเช่นไร
13.หลักนี้มีบัญญัติอยู่ชัดแจ้งในพระอัยยการเบ็ดเสร็จ บทที่ ๕๒ "ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมเป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้" และต่อไปบทที่ ๕๔ บัญญัติดุจเดียวกันว่า "ถ้าที่นอกเมืองหลวงอันเป็นแว่นแคว้นกรุงศรีอยุธยา
- ↑ นักศึกษาควรอ่านหนังสือของ H. G. Quaritch Wales: Ancient Siamese Government Administration พิมพ์ที่กรุงลอนดอนปี ๒๔๗๗ ตอนเกี่ยวกับระบอบที่ดิน อีกเล่มหนึ่ง