หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/31

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
25
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

เหตุนี้ จึงทรงกล่าวต่อไปในคำสอนว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจที่จะไล่คนซึ่งอยู่ในที่ดินนั้นออกไปได้ โดยมิต้องพระราชทานสินไหมตอบแทน ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะถือโฉมตราแดงตราจองก็ดี[1]

14.หลักนี้ บรรดาชุมนุมชนเชื้อชาติไทยรับรองถือกันตามที่บรรยายมาแล้ว ฉะนั้น การที่กฎหมายไทยบัญญัติว่า ที่ดินทั้งสิ้นเป็นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นเป็นแต่ยืนยันตามขนบธรรมเนียมาของชาติซึ่งถือกันมาแต่นมนาน แต่มีผลเพียงไรเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาอยู่ เพราะมีชุมนุมชนหลายแห่งที่เคยถือหรือยังถืออยู่ว่าที่ดินในอาณาเขตต์เป็นของประมุขเช่นเดียวกัน ในประเทศจีนแต่โบราณกาลมาจนสมัยเร็ว ๆ นี้ถือว่า พระเจ้าปักกิ่งเป็นเจ้าของที่ดินในอาณาจักร์ โดยคำภีร์ซีกิงของขงจื๊อว่า "ที่ดินใต้ท้องฟ้าเป็นของผู้เป็นประมุข และบรรดาผู้อาศรัยที่ดินนั้นเป็นข้าของประมุข" ตามกฎหมายอิสลามก็เช่นเดียวกัน ที่กินเป็นของอิหม่ำผู้เป็นประมุขแห่งศาสนา ไม่ใช่เป็นของราษฎร แม้ในทวีปยุโรปเมื่อสมัยมัธยมมักถือกันว่า อาณาเขตต์เป็นของมหากษัตริย์ และเมื่อมหากษัตริย์ถึงแก่ความตาย ก็แบ่งปันกันระหว่างทายาทเช่นอย่างมฤดกของบุคคล ในบางแห่งผู้เป็นประมุขแผ่อำนาจได้โดยรบชะนะ อาณาเขตต์จึงตกเป็นของเขาทางชัยชะนะเหมือนอย่างสิ่งของเชลย ทำนองนี้พระเจ้าวิลเลียมที่ ๑ เมื่อตีประเทศอังกฤษได้แล้ว ถือเอาอาณาเขตต์ที่ ๆ ได้นั้นว่าเป็นทรัพย์สมบัติของตน และแบ่งปันในระหว่างขุนนางที่เป็นพรรคพวก ในสมัยเก่ากรรมสิทธิ์ยังไม่แยกออกจาก


  1. เล็กเชอร์ หน้า ๑๘๙–๑๙๐
ม.ธ.ก.