หน้า:ปวศ กม ไทย - มธ - ๒๔๘๓.djvu/33

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
27
ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

15.แต่ส่วนชุมนุมชนเชื้อชาติไทยนั้น มีเหตุพิเศษที่ทำให้กรรมสิทธิ์ของประมุขเป็นความจริงแท้ ไม่ใช่เพียงทฤษฎีหรือนีตินัย คือ ประเพณีที่ประมุขแบ่งปันที่ดินในระหว่างราษฎร การแบ่งปันนี้ทำให้ราษฎรมิวายคิดว่า ตนทำประโยชน์ในที่ดินของผู้เป็นประมุขโดยพึ่งอาศัยกรุณาของประมุข ที่ดินหาเป็นของตนไม่ ส่วนประเทศไทยในโบราณกาล เจ้าหรือพระราชาที่เข้ามาตั้งถิ่นถานอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิมอาจจะได้แบ่งปันที่ดินให้ราษฎรเป็นเนื้อที่มากหรือน้อยตามยศตำแหน่งหรือความชอบ ตามประเพณีของชนเชื้อชาติไทยนอื่นร การแบ่งปันนี้เองเป็นเค้าเงื่อนของศักดินาที่ปรากฎใช้อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งศักดินานั้นก็คือจำนวนไร่ประจำยศบันดาศักดิ์ของข้าราชการตามลำดับทหารและพลเรือน แต่ได้เห็นมาแล้วว่า ในหมู่ชนเชื้อชาติไทยในประเทศอินโดจีนแทบทั่วไป ประเพณีแบ่งปันที่ดินเลิกเสียไม่ถือต่อไป หรือยังปฏิบัติแต่นาน ๆ ครั้งหนึ่งตามกรณีที่เกิดขึ้นโดยฉะเพาะ ส่วนเชื้อชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไดบรรลุอารยธรรมเร็วกว่าเพื่อนเชื้อชาติไทยอื่นมาก ประเพณีแบ่งปันที่ดินนั้นเองสูญไป ไม่ได้กระทำกันมาแต่เนิ่นนานก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแน่นอน ดั่งเห็นได้จากคำปรารภในพระอัยยการเบ็ดเสร็จลงปีกุน ๑๙๐๓ นั้นเอง คำปรารภนี้กล่าวถึงข้อพิพาทในระหว่างราษฎรที่ชิงที่ดินต่อกัน โดยหาว่าเป็นที่เดิมของตน และเรียกหากันว่าเป็นมฤดก ซึ่งส่อให้เห็นว่า แม้ในตอนต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ราษฎรถือที่ดินสืบกันต่อเป็นชั่วคนปล้ว ไม่เวนคืนตามกำหนดเวลา แม้เมื่อถึงแก่

ม.ธ.ก.