ความตาย ที่ดินก็มิต้องกลับคืนไปยังพระมหากษัตริย์เพื่อแบ่งปันใหม่ อนึ่ง ในกฎหมายก็ดี ในพระราชพงศาวก็ดี มิได้พาดพิงไปถึงการแบ่งปันที่ดินโดยอำนาจของพระมหากษัตริย์แม้แต่แห่งเดียว กฎหมายบังคับให้ข้าราชการพากเพียรหาผู้เข้าทำที่รกร้างว่างเปล่า แต่ส่วนแปลงที่มีผู้ทำอยู่ ผู้ทำคงถือที่เสมอไป ฝ่ายศักดินานั้นเป็นที่ทราบแล้วว่า ในสมัยกรุงศรีอยุุธยา ข้าราชการไม่ได้รับระราชทานไร่นามบันดาศักดิ์จริง เป็นแต่วิธ๊แสดงลำดับบันดาศักดิ์ซุึ่งให้เสียสิทธิ์ในระหว่างบุคคลก็จริงอยู่ แต่ไม่เกี่ยวกับการยึดถือที่ดินมากน้อย[1] ตามพระอัยยการตำแหน่งนาพลเรือน เห็นได้ว่า แม้พวกยาจก วรรณิพก และทาส ก็มีศักดินา ๕ ไร่ ซึ่งความจริงบุคคลเหล่านี้ตามสภาพของตนแล้วไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ ฉะนั้น น่าเชื่อได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การถือที่ดินคงมั่นอยู่ ที่ดินไม่เคยเปลี่ยนมือเสมอ ๆ และตามปกติราษฎรทำสวนทำนาของตนรเรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดเวลา.
- ↑ ตามความเห็นของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ศักดินานั้นดั้งเดิมหาได้หมายถึงจำนวนไร่ที่ข้าราชการรับพระราชทานตามบันดาศักดิ์ไม่ แต่หมายถึงจำนวนไร่ที่อนุญาตให้ซื้อได้ (คำอธิบายเรื่องพระราชพงศาวดาร ฉะบับพระราชหัดถเลขา หน้า ๔๖๓)