หน้า:ปัญญาส (๑๔) - ๒๔๗๐.pdf/43

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
38
ปัญญาสชาดก

ส่วนพระโพธิสัตว์ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่สาม จึงกล่าวคาถาว่า

สเนมิจกฺกา อกฺขา จ สนาภิอีสายุตฺตา เจว
สรสฺมิ จ รถปญฺชโร เอกโต รโถติ วุจฺจติ
เนมิ จ เอโก อาทิปิ น จ รโถติ วุจฺจติ
สมฺภาเรหิ จ สมุโห ปญฺชโร รโถติ วุจฺจติ ฯ

แปลว่า เรือนรถที่มีกง มีล้อ มีเพลา ประกอบด้วยดุม แลงอน แลเชือก เข้าด้วยกัน จึงกล่าวว่า รถ ถ้ามีอย่างเดียว เปนต้นว่ากง จะได้เรียกว่า รถ หามิได้ ต่อเรือนรถที่ประชุมด้วยสัมภารครบ จึงเรียกว่า รถ

โดยอธิบายว่า เหมือนกายสัตว์ทั้งหลาย ประชุมด้วยอาการสามสิบสองเปนอย่างยิ่ง จึงเรียกว่า กายรถ

เทวดาทั้งหลาย มีท้าวสักกะเปนต้น ก็ให้สาธุการโปรยปรายดอกไม้ทิพย์ทำสักการบูชา มหาชนทั้งหลายก็ให้สาธุการอีกเปนอันมาก

ส่วนพระโพธิสัตว์ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่สี่ จึงกล่าวคาถาว่า

เย อทฺธกุเล ชาตาปิ สทฺธาย ทานํ ททนฺติ
สีลํ รกฺขนฺติ ภาวนํ ปญฺจเวรํ ปชหนฺติ
เต คจฺฉนฺติ สคฺคโลกํ โชติ ปรสฺมินฺติ วุจฺจติ ฯ

แปลว่า ชนพวกใดเกิดแล้วในตระกูลอันมั่งคั่ง แลให้ทานด้วยศรัทธา รักษาศีลเจริญภาวนา ละเสียซึ่งเวรทั้งห้า ชนทั้งหลายนั้นเรียกว่า รุ่งเรืองในโลกหน้า

เมื่อพระโพธิสัตว์วิสัชนาปัญหาสี่ข้อจบลงแล้ว เทพดาทั้งหลาย มีท้าวสักกะเปนประธาน ก็โปรยปรายทิพยรัตนบุปผาทำสักการบูชาแลให้