หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/10

หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว

วชิรญาณเปนหอสมุดสำหรับพระนครเมื่อ ร.ศ. ๑๒๔ แลต่อมาได้ทรงตั้งโบราณคดีสโมสรขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ กรรมการหอพระสมุดพยายามหาหนังสือเก่ามารวบรวมไว้ในหอพระสมุดได้มาก แลผู้ที่เปนสมาชิกในโบราณคดีสโมสรหลายคนได้ช่วยกันตรวจสอบหนังสือพระราชพงษาวดารที่หอพระสมุดรวบรวมไว้ ถ้ามีข้อสงไสย ก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หารือ แลได้รับพระราชทานกระแสพระบรมราชวินิจฉัยมาเนือง ๆ จนที่สุดได้รับพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องหนังสือพระราชพงษาวดารในเวลาก่อนพระองค์เสด็จสวรรคตเพียง ๒ เดือนเศษ ดังแจ้งอยู่ในสำเนาพระราชหัดถเลขาที่พิมพ์ไว้ต่อไปนี้.

ที่๙๙/๗๗๓
สวนดุสิต
วันที่ ๘ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
 

ถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ

ได้รับหนังสือลงวันที่ ๕ เดือนนี้ว่า หอพระสมุดได้หนังสือพงษาวดารแปลกอิก ๒ ฉบับ เปนฉบับเขียนเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ แลฉบับทรงชำระในจุลศักราช ๑๑๕๗ ความเดียวกันกับฉบับพิมพ์ แต่ฉบับเขียนเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ ถ้อยคำขาด ๆ เกิน ๆ ครุคระ ผิดกับฉบับพิมพ์ ได้คัดเทียบไว้ตอนหนึ่ง ส่งต้นหนังสือพระราชพงษาวดาร ๒ เล่มกับที่ได้คัดเทียบความไว้มาให้ดู เธอตีความไม่ออกว่า ฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ จะเปนหนังสือกรุงเก่าแผ่นดินใดหรือหนังสือกรุงธนบุรีแต่ง ได้ลองพิจารณาดูความในหนังสือพงษาวดาร ฉบับพิมพ์เล่ม ๒ หาหัวต่อยังไม่ได้นั้น ทราบแล้ว.