หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/102

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๙

ข้าพเจ้ามิได้เที่ยว เห็นแต่วงค่ายหลวงนั้นพอเต็มทุ่งพุทเลา สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงตรัศแก่มุขมนตรีว่า ซึ่งสมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัศสั่งมาทั้งนี้ยังจะจริงฤๅ มุขมนตรีทั้งปวงกราบทูลว่า สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีลิ้นดำองค์นี้ได้ยินเล่าฦๅกันว่า ตรัศสิ่งใดเปนสัจจริง สมเด็จพระมหาธรรมราชาตรัศว่า อันการสงคราม จะฟังเอาเปนสัจจริงนั้นยากนัก เกลือกเกรงเราจะกระหนาบ แลหากสำทับไว้ จะเลิกไปโดยทางมา จำจะแต่งทัพไปตั้งไว้ดูที แล้วตรัศให้ทัพพระยาสวรรคโลก พระยาศุโขไทย สองทัพ คนสองหมื่น ยกลงไปตั้งเมืองอินทบุรี.

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัศให้ไปสั่งพระมหาอุปราชาให้ตีค่ายทุ่งหันตราเสีย จะได้คิดการบรรชิเมือง รุ่งขึ้น วัน ค่ำ เพลาเช้าตรู่ พระมหาอุปราชาก็ยกพลทหารไปตีค่ายเจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยามหาเสนานายทัพนายกองต่อสู้เปนสามารถ ข้าศึกหักเอามิได้ พระมหาอุปราชาโกรธ เสด็จบ่ายช้างไปยืนตรงน่าค่ายห่างประมาณสามเส้น ให้ประกาศแก่นายทัพนายกองว่า มิได้ค่ายเพลานี้จะตัดศีศะเสียบเสีย นายทัพนายกองกลัวก็ต้อนพลทหารดาบดั้งหนุนแน่นกันเข้าไปฟันค่ายหักเข้าได้ เจ้าพระยามหาเสนานายทัพนายกองไพร่พลแตกลาดลงคลองน้ำข้ามไปฟากวัดมเหยงค์ ที่ป่วยเจ็บล้มตายในน้ำก็มาก พระมหาอุปราชาก็ยกกองทัพกลับไปค่าย จึงเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าหงษาวดีกราบทูลซึ่งมีไชยได้ค่ายให้ทราบทุกประการ.

ขณนั้น ไพร่พลในกองทัพขัดเสบียง แต่งกองออกลาดหาก็มิได้ ที่ได้บ้างซื้อขายแก่กันเปนทนานละเฟื้อง ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมืองเอาเนื้อความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าหงษาวดี ๆ ตรัศปฤกษาดูความคิดท้าว