หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/11

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พงษาวดารว่ากันด้วยฉบับพิมพ์ เห็นว่า มีอยู่ ๕ ฝีปาก

ตอนแรกจะเปนคัดจากจดหมายท้ายปูม (ตอนที่ ๒) ขึ้นหัวต่อแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ตอนนี้เข้าใจว่า ได้แต่งในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราช หลักที่จะแต่งได้มาจากไหน คือ จดหมายรายวันทัพ อย่างเช่น จดหมายรายวันทัพครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งฉันได้คัดลงไว้ในพระราชวิจารณ์บางตอนนั้น.

ตอนที่ ๓ เริ่มตั้งแต่แผ่นดินพระนารายน์ลงมาจนถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ เข้าใจว่า จะแต่งโดยรับสั่งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ แต่ในระยะนั้นไม่มีจดหมายรายวันทัพ จึงคัดลงไป เช่นกับได้ผูกสำนวนคำให้การอีแก่น ก็คัดลงไปทั้งดุ้นเลื้อยเจื้อย เพราะเก็บข้อความไม่เปนเสียแล้ว.

ตอนที่ ๔ ข้อความตั้งแต่ในแผ่นดินพระบรมโกษท่อนปลายมาจนเสียกรุง อาจที่จะเปนพระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้จดหมายขึ้นไว้ให้บริบูรณ์ ข้อความจึงแตกกันอยู่เปน ๒ แปลง.

ตอนที่ ๕ เปนตอนซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตทรงเก็บตามรายวันทัพนั้นเอง ซึ่งมีสมุดรายวันอาจจะสอบกับพงษาวดารได้ว่า ท่านเก็บอย่างไร ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้.

ข้อซึ่งหนังสือ ๒ เล่มอ้างว่า ทรงชำระเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ แล ๑๑๕๗ ฉันเห็นว่า จะเปนแต่ชำระตรวจสอบถ้อยคำแลดัดแปลงสำนวนบ้าง ไม่ใช่แต่งหรือเก็บความขึ้นร้อยกรองใหม่ เคยสังเกตใจว่า สำนวน