หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/138

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๕

ห้าวา อนึ่ง กำแพงพระนครขณะนั้นตั้งโดยขบวนเก่า แลยังไป่รื้อลงตั้งในริมน้ำ พระยารามก็ให้ตั้งค่ายรายไปตามริมน้ำเปนชั้นหนึ่ง แลไว้ปืนจ่ารงค์มณฑกสำหรับค่ายนั้นก็มาก แล้วให้ตั้งหอโทนในกลางน้ำไกลริมฝั่งออกไปห้าวารอบพระนคร มิให้ข้าศึกเอาเรือเข้ามาตีริมพระนครได้.

ฝ่ายข้าหลวงในเมืองพระพิศณุโลก ครั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แลสมเด็จพระมหินทราธิราช มานำพระวิสุทธิกระษัตรี แลเอกาทศรฐ กับครอบครัวอพยพข้าหลวงเดิม ลงไปแล้ว ก็ขึ้นม้ารีบไปยังกรุงหงษาวดีกราบทูลแด่พระมหาธรรมราชาเจ้าทุกประการ พระมหาธรรมราชาได้แจ้งดังนั้น ก็ตกพระไทย จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี เอาเหตุซึ่งพระยารามกับสมเด็จพระมหินทราธิราชคิดการกันแต่ต้นจนมาหักหาญรับพระวิสุทธิกระษัตรีลงไปกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานั้นทูลแก่พระเจ้าหงษาวดีทุกประการ พระเจ้าหงษาวดีแจ้งเหตุดังนั้น ก็เคืองพระราชหฤไทย จึงตรัศแก่พระมหาธรรมราชาว่า ซึ่งกรุงพระมหานครเสียสัตยานุสัตย์กลับเปนปรปักษ์ข้าศึกแก่พระเจ้าน้องเรานั้น จะละไว้มิได้ พระเจ้าน้องเราเร่งลงไปจัดแจงกองทัพทั้งเจ็ดเมืองเหนือแลเสบียงอาหารไว้ให้สรรพ เดือน ๑๒ เราจะยกลงไป พระมหาธรรมราชาเจ้ารับบัญชาพระเจ้าหงษาวดีแล้ว ก็ถวายบังคมลามายังเมืองพระพิศณุโลก จัดแจงเสบียงอาหารช้างม้ารี้พลทั้งเจ็ดหัวเมืองเหนือไว้ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีให้บำรุงช้างม้ารี้พลสรรพ.

ลุศักราช ๙๑๗ ปีเถาะ สัปตศก วัน ๑๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาหกบาท สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จสรงพระปริตโตทกธารา