ศรีอยุทธยามีราชดัษกร คือ พระเจ้าหงษาวดี กอปรด้วยโลภเจตนาหาหิริโอตัปปมิได้ ยกกองทัพลงมากระทำปไสยหาการย่ำยีพระนครศรีอยุทธยา สมณพราหมณาจารย์ไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน แลกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาก็เปนเขื่อนเพ็ชรเขื่อนขันธ์แก่กรุงศรีสัตนาคนหุต ถ้าพระนครศรีอยุทธยาเสียแก่กองทัพหงษาวดีแล้ว เห็นศึกหงษาวดีจะติดถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตด้วย เชิญเสด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกพยุหโยธาทัพลงมาช่วยรณยุทธปราบปรามข้าศึกให้ปราไชยปลาศไป แล้วจะได้ช่วยกันดำริห์การตอบแทนแก้แค้นพระเจ้าหงษาวดีให้ถึงขนาด เสนาบดีครั้นแจ้งในศุภอักษรแล้วก็พาขุนราชเสนา ขุนมหาวิไชย เข้าเฝ้า ทูลโดยสำเนาศุภอักษรเสร็จสิ้นทุกประการ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งดังนั้นก็ทรงพระโกรธ ดำรัศว่า พระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่ในขัติยราชธรรมประเพณี ประพฤดิพาลทุจริตให้ทหารมาสกัดชิงพระเทพกระษัตรีไปครั้งหนึ่งมิหนำ ยังมีใจกำเริบยกมากระทำย่ำยีพระนครศรีอยุทธยาอิกเล่า จำเราจะยกไปตีเปนทัพกระหนาบ ดูหน้าพระเจ้าหงษาวดีจะทำเปนประการใด ประการหนึ่ง ทั้งทางพระราชไมตรีกรุงศรีอยุทธยาก็จะถาวรวัฒนาการสืบไป แล้วก็มีพระราชกำหนดให้เตรียมพลห้าหมื่น ช้างเครื่องสามร้อย ม้าสามพัน ครั้น ณ วัน ๗ ๕ฯ ๓ ค่ำ ได้ศุภวารดฤถีมหามงคลฤกษ์อันประเสริฐ ก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาวแลพลพิริยโยธาหาญแห่โดยกระบวนซ้ายขวาน่าหลังดั้งแซงเปนขนัดแน่นนันด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ยกออกจากกรุงศรีสัตนาคนหุตร้อนแรมมาโดยวิถีทางสถลมารค ฝ่ายชาวด่าน
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/153
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๐