หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/192

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒๙

มาบรรจบกัน ซึ่งเราจะละไว้ให้ทัพประชุมกันเข้าทั้งสามทัพนั้น กำลังศึกจะมากขึ้น จะหนักมือจะเหนื่อยแรงทหารนัก ทั้งไพร่ฟ้าประชากรก็จะมิได้ทำไร่นา กำลังพระนครก็จะถอยลง เราจะยกไปตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เสียก่อนอย่าให้ตั้งอยู่ได้ ประการหนึ่ง ก็จะได้ชมมือทหารทั้งปวงด้วย สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราชกราบถวายบังคมฉลองพระราชโองการว่า อันทัพพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งมาตั้งอยู่ตำบลสระเกษนี้ ชีวิตรข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองอยู่ในใต้เบื้องบาท อย่าได้ทรงวิตกเลย จะตีเสียให้แตกไปจงได้ สมเด็จพระราชบิดาได้ทรงฟังพระราชโอรสทั้งสองทูลดังนั้น ก็แย้มพระโอฐ จึงสั่งให้ตรวจพลแปดหมื่น ช้างเครื่องห้าร้อย ม้าพันหนึ่ง เรือรบห้าร้อยลำ ทัพบกทัพเรือสรรพ ครั้นณวัน ค่ำ เพลาย่ำรุ่งแล้ว ๕ นาฬิกากับบาทหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราชก็ยกไปตั้งไชยตำบลลุมพลี ถึงณวัน ๑๐ ฯ  ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราชตรัศให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวง แล้วเสด็จด้วยพระชลวิมานขึ้นไปถึงปากโมกน้อยเพื่อจะดูกำลังข้าศึก.

ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แจ้งว่า กองตระเวนได้รบกับกองทัพกรุงเปนหลายครั้งแตกขึ้นมา จึงแต่งให้สเรนันทสูคุมทหารห้าพัน ช้างเครื่องสามสิบ ม้าห้าร้อย ยกเข้ามาปากโมกน้อย แล้วแต่งให้พระยาเชียงแสนนายกองทัพน่าคุมพลทหารหมื่นหนึ่ง ช้างเครื่องร้อย ม้าห้าร้อย ยกตามลงมาอิกทัพหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรปเปนเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าแจ้งว่า ข้าศึกยกเข้ามา ก็ให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวงเข้าฝั่ง ให้พลทหารอาสาขึ้นบกยกเข้าไปตั้งต่อข้าศึก แล้วก็เสด็จ