หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/200

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓๗

ครั้งนี้ ยกพลลงไปถึงแสนหนึ่งก็แตกแก่ข้าศึกขึ้นมา ทำการมิได้มั่นคงดุจทารกโคบาลให้เสียรี้พลมากมายข้าศึกได้ใจดังนี้ เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่มิได้มีความลอายไม่ไว้เกียรติยศในแผ่นดินแล้ว ก็แล้วไปเถิด ออกพระวัสสาแล้ว ทัพหลวงจะยกไปกระทำ อย่าให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชรเลย ให้เปนกองลำเลียงขึ้นไปจัดแจงเสบียงอาหารณเมืองเชียงใหม่ผ่อนลงมาไว้ให้พอสามแสนอย่าให้ขัดสนได้ ถ้าขัดสนเสบียงอาหารมิทันมิพอพลสามแสน จะมีโทษ ครั้นแต่งหนังสือเสร็จแล้ว ก็ส่งให้พละกำกองถือกลับมาณเมืองกำแพงเพ็ชร ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งในรับสั่งดังนั้น ก็กลัวพระราชอาชญา ลาพระมหาอุปราชากลับขึ้นไปณเมืองเชียงใหม่ เร่งรัดทำการลำเลียงตามรับสั่ง

ครั้นถึงเดือนสิบสอง ปีมเสง เอกศก พระเจ้าหงษาวดีก็ยกช้างม้ารี้พลมาโดยทางเชียงทอง แลชุมพลทางบกทางเรือทั้งปวงณเมืองกำแพงเพ็ชร ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกทัพลำเลียงลงมาถึงทัพพระเจ้าหงษาวดี พลสองแสน ช้างเครื่องพันหนึ่ง ม้าเจ็ดพัน แลเรือกระจังเลาคาพันลำ ฝ่ายทัพพระมหาอุปราชา ช้างเครื่องสี่ร้อย ม้าสามร้อย พลห้าหมื่น กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่เปนทัพลำเลียง เรือรบเรือลำเลียงห้าร้อย พลสองหมื่น พระเจ้าหงษาวดียกช้างม้ารี้พลลงมาถึงเมืองนครสวรรค์ ให้ทัพพระมหาอุปราชาแลพระยาตองอูยกมาทางฟากตวันออกก ให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมทัพเรือ ทัพพระเจ้าหงษาวดียกมาทางฟากตวันตก ถึงณวัน ค่ำ พระเจ้าหงษาวดีก็ยกทัพใหญ่เข้ามาตั้งมั่นตำบลขนอนปากคู แลมังหมอดลูกพระเจ้าหงษาวดีแลพระยาพระรามมาตั้งตำบลมขามหย่องทัพหนึ่ง ให้ตั้งค่ายขุดคูเอามูล