พลากรมาทั้งนี้ เพราะเหตุว่าทรงพระเมตตาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อจะให้ระงับท้าวพระยาลาวหัวเมืองทั้งปวงอันกระด้างกระเดื่องเปนปัจจนึกแก่พระเจ้าเชียงใหม่ให้ปรกติราบคาบ ท้าวพระยาลาวทั้งปวงก็มาพร้อมกันณเมืองเถินสิ้น ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ลงมา แต่งให้แต่แสนท้าวพระยาลาวคุมเครื่องบรรณาการลงมา เรื่องความทั้งนี้ทราบลงไปถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ดำรัศเห็นว่า เมืองเชียงใหม่ยังมิปรกติ จึงให้เรากลับขึ้นมาระงับเสียให้จงได้ พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ลงมา กลับแต่งทัพม้ามาซุ่มไว้ตีพระรามเดโชอันลงมาตามกำหนดอิกเล่า แลซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ทำดังนี้ ยังเห็นประการใด มุขมนตรีทั้งปวงปฤกษาว่า เดิมแผ่นดินเมืองเชียงใหม่เปนจลาจล พระเจ้าเชียงใหม่หาที่พึ่งมิได้ จึงให้ไปกราบทูลเบื้องบาทยุคล ขอเอาพระเดชเดชานุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระมหากรุณาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ จะให้คงอยู่ในเสวจรฉัตร จึงเชิญพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาในสมัยใช่ฤดูกาล ป่วยการรี้พลก็มาก ครั้นทัพหลวงเสด็จมาถึงท่าหวด ตรัศให้ข้าหลวงไปหาท้าวพระยาลาวอันกระด้างกระเดื่องมิอาจขัดแขงอยู่ได้ ก็พากันมากราบถวายบังคมเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทอยู่ในทัพหลวงณเมืองเถินสิ้น แลพระเจ้าเชียงใหม่ก็หามาไม่ ด้วยมิได้เชื่อพระเดชเชานุภาพ มีแต่ความกลัวพระยาลาวทั้งปวงมากกว่าพระราชอาชญาอิก สมเด็จพระพุทธเจ้าหัวอยู่ก็มิได้ทรงพระโทมนัสเคืองพระไทย ต้องทรงพระอุสาหะเสด็จพระราชดำเนิน
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/294
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓๑