กลับขึ้นมาถึงเมืองลำพูน กำหนดให้พระเจ้าเชียงใหม่มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทพร้อมกันกับพระยาลาวทั้งหลาย เพื่อจะพระราชทานพระราชโอวาทให้พระยาลาวสมัคสมานอ่อนน้อมต่อพระเจ้าเชียงใหม่ ๆ ก็มิได้ลงมา กลับแต่งทัพม้าไทยใหญ่ซุ่มตีพระรามเดโชอันจะลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทนั้น จนพระรามเดโชมามิได้ กลับคืนไปเมืองฝาง แลพระเจ้าเชียงใหม่โมหจิตรมิได้เชื่อพระเดชเดชานุภาพแล้ว ซึ่งจะเสด็จอยู่โปรดอิกนั้นเหลือการ อนึ่ง ไพร่พลในทัพหลวงแลไพร่พลพระยาลาวทั้งปวงก็ขัดสนเสบียงอาหารนัก ขอเชิญเสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงเสด็จกลับยังกรุงเทพพระมหานครจึงจะควร เอาคำพิพากษากราบทูลพระกรุณา จึงมีพระราชโองการตรัศว่า พระเจ้าเชียงใหม่เปนคนหลงอยู่แล้ว แลจะละเสียนั้นเหมือนไม่อนุกูลพระเจ้าเชียงใหม่ ประการหนึ่ง ก็จะเสียพระเกียรติยศสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐไป ทั้งพระองค์ก็จะทรงพระโกรธติโทษเราได้ ชอบให้ข้าราชการผู้มีสติปัญญาเข้าไปว่ากล่าวชี้แจงให้พระเจ้าเชียงใหม่ออกมาให้จงได้ แลให้ม้าตำรวจสามสิบม้าขึ้นไปหาพระรามเดโชลงมาสมัคสมานเสียจึงจะควร ฝ่ายท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทกราบถวายบังคมเห็นด้วยพระราชดำริห์ทุกประการ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัศให้หมื่นอินทรักษา กับพระไชยาธิป โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ เข้าไปยังเมืองเชียงใหม่ แลให้หมื่นเพ็ชรไพรี หัวหมื่นตำรวจสามสิบม้า ให้ไปหาพระรามเดโชณเมืองฝาง ครั้นหมื่นอินทรักษา ข้าหลวง กับพระไชยาธิป ไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่ จึงทูลว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตา อุสาหเสด็จพระราชดำเนินยกทัพหลวงขึ้นมาถึงเมือง
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/295
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓๒