กระษัตริย์สืบสุริวงษ์มาหลายชั่วแล้ว แลซึ่งท่านทั้งปวงคบคิดกันเปนปรปักษ์ข้าศึกจะรบเอาเมืองเชียงใหม่นั้น ถึงมาทว่าจะได้สมบัติในเมืองเชียงใหม่ก็ดี ความทุรยศอันนี้ก็จะปรากฎอยู่ชั่วฟ้าแลดิน ดูมิบังควร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตากรุณาการุญภาพแก่ท่านทั้งปวงแลพระเจ้าเชียงใหม่ จึงดำรัศให้เราอุสาหะมา หวังจะให้ท่านทั้งปวงสามัคคีรศสุนทรภาพสโมสรสุจริตดุจกาลก่อน ท้าวพระยาลาวทั้งหลายจะว่าประการใด ท้าวพระยาแสนหลวงทั้งปวงกราบถวายบังคมพร้อมกันแล้วกราบทูลว่า พระเจ้าอยู่หัวโปรดประการใด จะกระทำตามทุกประการ พระเจ้าเชียงใหม่กราบทูลพระกรุณาว่า ท้าวพระยาทั้งปวงประนีประนอมแล้ว ข้าพระองค์มิได้มีอาฆาฏจองเวรแก่ท้าวพระยาทั้งหลาย จะถวายสัจปฏิญาณได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัศได้ทรงฟังดังนั้น ดีพระไทยนัก ตั้งแต่นั้น พระเจ้าเชียงใหม่กับท้าวพระยาแสนหลวงแสนเมืองทั้งปวงก็มิได้มีความพิโรธอาฆาฏแก่กันต่อไป พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้กลับเข้าไปเมืองเชียงใหม่ อยู่ในทัพหลวงถึงแปดเวน ฝ่ายหมื่นเพ็ชร์ไพรีกับพระรามเดโชก็มาถึง เฝ้าพร้อมกันกับพระเจ้าเชียงใหม่ แสนหลวงแสนเมืองทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัศให้พระราชโอวาทโดยยุติธรรมสามัคคีรส พระเจ้าเชียงใหม่กับพระรามเดโชก็สิ้นเวรพยาบาทแก่กัน ครั้นรุ่งขึ้น ก็เสด็จพระราชดำเนินพาพระเจ้าเชียงใหม่แลท้าวพระยาลาวเข้าไปในอารามพระมหาธาตุเมืองลำพูน ก็ให้ท้าวพระยาลาวทั้งปวงกระทำสัจปฏิญาณถือน้ำพิพัฒต่อพระเจ้าเชียงใหม่ ๆ ก็ถวายสัจต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เฉภาะพระภักตรพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ
หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/297
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓๔