หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/31

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓

อิกอย่าง ๑ ถ้าพิเคราะห์ดูหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หรือฉบับพระราชหัดถเลขานี้ จะเห็นได้ดังพระบรมราชาธิบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า เรื่องก่อนแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นไปกล่าวแต่ย่อ ๆ อย่างคัดจดหมายเหตุในปูมมาลง มาพิศดารเอาต่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิลงมา ผู้แต่งหนังสือพระราชพงษาวดารครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษจะได้อาไศรยหนังสือมหายุทธการมาประกอบด้วยจะเปนได้ดอกกระมัง.

หนังสือจุลยุทธการนั้น จะต้องคิดก่อนว่า การสงครามยุคใดแต่คราวรบศึกหงษาวดีมาแล้วจะควรเอาเปนเรื่องแต่งเทียบเคียงกับมหายุทธการได้บ้าง การสงครามที่เปนยุคมีในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชยุค ๑ ได้รบพม่าแลเชียงใหม่หลายคราว แต่เนื้อเรื่องไม่น่าเทียบเคียงมหายุทธการเหมือนเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีรบชนะพม่าแลปราบปรามจลาจลจนตั้งกรุงธนบุรีเปนอิศรภาพได้ดังกรุงเก่า เนื้อเรื่องตอนนี้ดูใกล้กัน ดูชวนจะให้แต่งเฉลิมพระเกียรติยศพระเจ้ากรุงธนบุรีเทียบด้วยสมเด็จพระนเรศวร ถ้ามีผู้แต่งขึ้น ก็จะเปนที่พอพระราชหฤไทยของพระเจ้ากรุงธนบุรีมิใช่น้อย เพราะฉนั้น หนังสือเรื่องจุลยุทธการนี้จะแต่งในครั้งกรุงธนบุรีจะเปนได้หรือไม่ ถ้าแต่งในครั้งกรุงธนบุรีแล้ว ข้าพเจ้าแทบจะรับรบุตัวผู้แต่งได้ คือ พระธรรมธิราราชมหามุนี (ชื่น) วัดหงษ์ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จเจ้าชื่น นั้น ท่านองค์นี้ ตามเรื่องที่ปรากฎว่า เปนผู้รู้พระปริยัติธรรมแตกฉานมาก เปนผู้ฝากฝ่ายในพระเจ้ากรุงธนบุรีจนได้เปนสมเด็จพระสังฆราชในที่สุด มาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร ต้องลดยศลงมาว่าที่วันรัตน ที่เล่ากันมาแต่ก่อนว่า กรมสมเด็จพระ