หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/34

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๖

บ้าง หนังสือเหล่านี้ย่อมเนื่องด้วยเรื่องพระราชพงษาวดารในประเทศ จึงเปนเครื่องประกอบพระราชพงษาวดาร.

หนังสือที่โหรแต่งนั้น คือ โดยปรกติ ถ้ามีเหตุการณ์อย่างใด โหรก็จดลงไว้ในปดิทินวันนั้นทำนองจดไดเอรีเฉภาะวันที่มีเหตุการณ์ เมื่อนาน ๆ เข้า ก็รวมลงท้ายปูม หรือแยกออกเปนจดหมายเหตุเรียงเรื่องเหตุการณ์บอกวันกำกับไว้ เปนหนังสือประกอบพระราชพงษาวดารอิกอย่าง ๑ ในจำพวกนี้มักแน่นอนด้วยวันคืน.

หนังสือที่ราชการแต่งนั้น คือ รายวันราชการทัพ เปนต้น ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เคยทรงชี้แจงให้แลเห็นชัดในพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ว่า ในตอนไรที่เปนการทัพศึก มักมีวันคืนเลอียด ตอนไรที่ไม่มีการทัพศึก วันคืนห่าง เห็นได้ตั้งแต่ตอนสมเด็จพระนเรศวรทำศึกกับหงษาวดีมาจนครั้งกรุงธนบุรีทำศึกกับพม่า เพราะเหตุว่ามีหนังสือรายวันทัพเปนหลักแก่ผู้แต่งหนังสือพระราชพงษาวดาร นอกจากรายวันทัพ มีสำนวนความบ้าง จดหมายเหตุบ้าง ที่เปนของจดไว้ในราชการ เปนเครื่องประกอบพระราชพงษาวดารอิกอย่าง ๑ เรื่องจดหมายเหตุนี้มีธรรมเนียมเก่าเรียกว่า หอสาตราคม เปนน่าที่ของนายเสน่ห์แลนายสุจินดาหุ้มแพรมหาดเล็กที่จะต้องจดหมายเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอสาตราคม ที่เรียกว่า "เหตุซึ่งมีในพระราชพงษาวดาร" ตามบานแพนกฉบับหลวงประเสริฐ เห็นจะหมายความว่า หนังสือจดหมายเหตุในหอสาตราคมนี่เอง.

ที่บุคคลจดนั้น คือ ทำนองคำให้การ ในเวลาจะแต่งพระราชพงษาวดารหรือจะใคร่รู้ความเก่า ถามผู้เถ้าผู้แก่ที่รู้การงานมากจดมา