หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๕ (๑).djvu/94

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๑

ช้างเผือกมีกองเชิงเงินสี่เท้าช้างเปนเงินพันหกร้อยชั่ง ราชรถเจ็ดเล่มเทียมด้วยม้า มีนางสำหรับรถเสมอรถละนาง อนึ่ง ในเดือนเจ็ด เสด็จไปวังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพังหกสิบช้าง.

ศักราช ๙๐๐ ปีจอ สำเรทธิศก เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพังสี่สิบช้าง.

ศักราช ๙๐๒ ปีชวด โทศก เสด็จไปวังช้างตำบลวัดกะได ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง.

ศักราช ๙๐๔ ปีขาล จัตวาศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายเจ็ดสิบช้าง.

ศักราช ๙๐๕ ปีเถาะ เบญจศก สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีทรงพระดำริห์ว่า ครั้งก่อน เรายกทัพรุดไปพระนครศรีอยุทธยา พลแต่สามหมื่น ล่วงเข้าตั้งถึงชานเมืองตำบลลุมพลี หามีผู้ใดมาปะทะฝีมือไม่ แต่หากว่าพลน้อย จะทำการช้าวันมิถนัด ครั้งนี้ จะยกไปให้มากสิบเท่า ก็เห็นจะได้พระนครศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีทรงพระดำริห์แล้ว ให้เกณฑ์พลสามสิบหมื่น ช้างเครื่องเจ็ดร้อย ม้าสามพัน ให้พระมหาอุปราชาเปนกองน่า พระเจ้าแปรเปนเกียกกาย พระยาพสิมเป็นกองหลัง.

ครั้นณวัน ค่ำ เพลาอุสาโยค สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีก็ทรงเครื่องศิริราชปิลันทนาลังการาภรณ์บวรมหาสังวาลเนาวรัตนสพักพระอังสาอลงกฎอังคาพยพอย่างอรรคราชรามัญวิไสยสำหรับมหาพิไชยรณรงค์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลปราบทวีปเปนราชพาหนะ ประดับเครื่องคเชนทราลังการาภรณ์บวรมหาสารวิภูสิต