หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๗.pdf/43

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เก่า ๆ เอาหนังสือเหล่านั้นมาเรียบเรียงลำดับตามที่เชื่อว่า เรื่องไหนก่อน เรื่องไหนหลัง แล้วคิดตกแต่งตรงหัวต่อด้วยตั้งใจจะเชื่อให้เปนเรื่องเดียวกันอย่างพระราชพงษาวดารกรุงศรีอยุทธยา เพราะฉะนั้น หนังสือพงษาวดารเหนือที่จริงเปนหนังสือหลายเรื่อง เรียบเรียงไขว้เขว บางทีเรื่องเดียวซ้ำ ๒ หนก็มี ศักราชที่ลงไว้ในพงษาวดารเหนือวิปลาศจนอาไศรยสอบสวนไม่ได้ทีเดียว แต่เนื้อเรื่องที่กล่าวในพงษาวดารเหนือมีมูลที่เปนความจริงอยู่มาก ถ้าจะใช้สอบสวน ต้องเลือกหั่นเอาไป อย่าเชื่อตามลำดับเรื่องที่พระวิเชียรปรีชาเรียงไว้ จึงจะได้ความ

หนังสือตำนานโยนก ว่าด้วยพงษาวดารเมืองในมณฑลพายัพ มีเมืองเชียงใหม่เปนต้น พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) รวบรวมตำนานแลพงษาวดารทั้งปวงมาตรวจสอบแต่งขึ้นเปนตำนานโยนกเรื่อง ๑ หนังสือตำนานโยนกนี้เปนหนังสือดีที่ผู้แต่ง คือ พระยาประชากิจกรจักร มีความอุสาหรวบรวมแต่งด้วยความคิดแลความรู้โบราณคดีอย่างลึกซึ้ง ควรจะสรรเสริญว่า เปนหนังสืออย่างดีในพงษาวดารไทยเรื่อง ๑ น่าเสียดายที่พระยาประชากิจกรจักรถึงอนิจกรรมไปเสียแต่ยังหนุ่ม ถ้ายังอยู่ จะเปนกำลังในการสอบสวนพงษาวดารได้อิกคน ๑

๑๐หนังสือราชาธิราช เปนพงษาวดารเมืองรามัญ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีรับสั่งให้เรียบเรียงเปนภาษาไทย