หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๗.pdf/44

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เมื่อปีมเสง จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘ เนื้อความตอนต้นมีเรื่องเกี่ยวข้องถึงกรุงศุโขไทยมาก

๑๑หนังสือจามเทวีวงษ์ พระโพธิรังษีเมืองเชียงใหม่แต่งเปนภาษามคธ แปลออกเปนพงษาวดารเมืองหริภุญไชย ก็มีเนื่องถึงกรุงศุโขไทยอิกเรื่อง ๑

เรื่องพระราชพงษาวดารกรุงศรีอยุทธยาตรวจสอบได้ง่ายกว่าเรื่องครั้งกรุงศุโขไทย ด้วยมีหนังสือพระราชพงษาวดารอยู่เปนหลัก

หนังสือพระราชพงษาวดารที่ปรากฎแก่คนทั้งหลายโดยมากมาแต่ก่อน คือ หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับ ๒ เล่มสมุดฝรั่งที่หมอบรัดเลลงพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ พ.ศ. ๒๔๐๖ แลโรงพิมพ์อื่น ๆ ได้พิมพ์ต่อมาอิกหลายครั้ง เข้าใจกันมาแต่ก่อนว่า หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับ ๒ เล่มนั้น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ทรงแต่งขึ้น (ด้วยอาไศรยเก็บข้อความจากหนังสือเรื่อง ๑ ซึ่งสมเด็จพระวันรัตนได้แต่งไว้เปนภาษามคธ เรียกชื่อหนังสือนั้นว่า มหายุทธการ ตอน ๑ จุลยุทธการ ตอน ๑) จึงเรียกหนังสือพระราชพงษาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่มนั้นว่า พระราชพงษาวดาร ฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ผู้ศึกษาพงษาวดารได้อาไศรยแต่หนังสือฉบับ ๒ เล่มนั้นเปนตำราจนแทบเข้าใจกันทั่วไปว่า หนังสือพระราชพงษาวดารกรุงเก่ามีแต่ฉบับนั้นฉบับเดียว

ความรู้เรื่องหนังสือพระราชพงษาวดารพึ่งมากว้างขวางออกไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดหอพระ