หน้า:พงศาวดาร (หัตถเลขา) - ๒๔๕๗.pdf/577

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
539
อธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช

เรียกกันโดยมากกว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณกับวัดกัลยาณ์ฯ ที่วัดกัลยาณ์ฯ เองเปนตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือ ศาลเจ้าเจ๊กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์ฯ เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางคลองบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาดตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อยขึ้นทางสามเสน ไปเลี้ยวเข้าบางกรวยตรงวัดเขมาข้าม ที่เรียกว่า คลองบางกรวย ทุกวันนี้คือแม่น้ำเก่า เลี้ยวเข้าตรงนั้นไปต่อแม่น้ำอ้อม วกมาออกที่เมืองนนท์ฝั่งตวันตก แล้วขึ้นไปทางแม่น้ำเดี๋ยวนี้ ทางอ้อมเกร็ดบางบัวทอง จนถึงบางหลวงเชียงราก แม่น้ำเก่าเข้าทางคลองบางหลวงเชียงรากฝั่งตวันออก อ้อมไปออกที่คลองลาดพร้าว ต่อนั้นขึ้นไป ลำแม่น้ำเดิมเปนอย่างทุกวันนี้ จนถึงกรุงเก่า.

ในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เมื่อปีมโรง จุลศักราช ๘๘๔ พ.ศ. ๒๐๖๕ (ศักราชที่ว่าเหล่านี้ เอาแน่ไม่ได้) สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้ขุดคลองบางกอกใหญ่ คือ ขุดคลองลัดตั้งแต่ที่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าที่น่าวัดอรุณ คลองลัดบางกอกใหญ่นี้ ที่กลายเปนลำแม่น้ำตรงน่าตำหนักแพทุกวันนี้.

ปีจอ จุลศักราช ๙๐๐ พ.ศ. ๒๐๘๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขุดคลองลัดที่บางกรวย แต่วัดชลอมาทลุริมวัดขี้เหล็ก ที่เรียกว่า คลองลัด เพราะในเวลานั้น ลำแม่น้ำยังเดินทางแม่น้ำอ้อมวัดขี้เหล็กอยู่ในคลองบางกอกน้อย ตรงปากคลองบางระมาดตลิ่งชันซึ่งเปนแม่น้ำเก่า คลองแต่วัดขี้เหล็กไปจนวัดชลอ ซึ่งยังอยู่ในแม่น้ำอ้อมจนทุกวันนี้คือที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขุด เปนทางลัดเพราะ