หน้า:พรบ ราชบัณฑิตฯ ๒๕๕๘.pdf/6

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
หน้า ๖
ราชกิจจานุเบกษา

(๕)ที่ประชุมราชบัณฑิตยสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนราชบัณฑิตทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(ก)ขาดประชุมสำนักที่ตนเป็นภาคีสมาชิกหรือราชบัณฑิตเป็นเวลาติดต่อกันเกินหกเดือนหรือขาดประชุมราชบัณฑิตยสภาสี่ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(ข)มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

ในกรณีที่ราชบัณฑิตหรือราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์พ้นจากตำแหน่ง ให้นายกราชบัณฑิตยสภารายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ

มาตรา๒๓ราชบัณฑิตที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติเพราะเหตุชรา พิการ หรือทุพพลภาพ และราชบัณฑิตที่พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งสำนักที่ราชบัณฑิตผู้นั้นประจำอยู่มีมติว่าอยู่ในฐานะที่ควรอนุเคราะห์ ให้มีสิทธิได้รับเงินอุปการะพิเศษตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

หมวด ๓
ราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๔ให้มีสภาขึ้นในสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า “ราชบัณฑิตยสภา” ประกอบด้วย

(๑)นายกราชบัณฑิตยสภาตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง เป็นนายกสภา

(๒)อุปนายกราชบัณฑิตยสภาสองคนตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง เป็นอุปนายกสภา

(๓)ราชบัณฑิตทุกคน เป็นกรรมการสภา

ให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นเลขานุการสภา และรองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาเป็นผู้ช่วยเลขานุการสภา

มาตรา๒๕ให้ราชบัณฑิตยสภาประชุมเลือกราชบัณฑิตเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาคนหนึ่ง และเป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภาสองคน แล้วเสนอชื่อไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง

หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเลือกนายกราชบัณฑิตยสภา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

มาตรา๒๖นายกราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑)เป็นผู้แทนของราชบัณฑิตยสภาในการดำเนินงานตามมาตรา ๘ (๒}}และ (๓)