หน้า:พรบ วิอ ๑๑๕.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๖๓
เล่ม ๑๓
ราชกิจจานุเบกษา

เหนว่า คำพิพากษาตัดสินของศาลเดิมนั้นไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายแลยุติธรรมแล้ว จะฟ้องอุทธรณ์ก็ได้ แต่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลนั้นในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตัดสินเปนต้นไป



มาตรา๒๕คำอุทธรณ์นี้ ให้เขียนเปนฟ้อง แล้วให้ผู้อุทธรณ์ฤๅทนายของตนนำไปยื่นต่อศาลเดิมนั้น แลในฟ้องอุทธรณ์ทุกฉบับต้องรวมใจความเรียงเปนข้อยกเหตุตามความจริงฤๅตามบทกฎหมายที่เหนว่าเปนองค์อุทธรณ์ได้ การอุทธรณ์คำตัดสินอย่างนี้ ห้ามอย่าให้เรียกผู้พิพากษามาเปนจำเลย ให้เรียกแต่คำตัดสินมาพิจารณา แลให้คู่ความเดิมมาว่าความกันต่อไป ถ้าคู่ความจะฟ้องหาให้เรียกผู้พิพากษามาเปนจำเลย ก็ต้องให้ฟ้องเปนคดีใหม่ต่างหากตามความผิดที่จะฟ้องหานั้น



มาตรา๒๖ถ้าผู้อุทธรณ์ต้องขังอยู่ในตรางแล้ว จะส่งฟ้องอุทธรณ์ต่อพนักงานผู้ดูแลรักษาตรางนั้นใหนำมายื่นต่อศาลแทนตัวก็ได้



มาตรา๒๗ภายใน ๕ วันนับแต่วันได้รับฟ้องอุทธรณ์ไว้เปนต้นไปนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลซึ่งได้พิพากษาตัดสินคดีเรื่องที่ต้องอุทธรณ์นั้น ส่งฟ้อง กับคำตัดสิน แลเทียบถ้อยคำสำนวนทั้งปวงในคดีเรื่องนั้น มายังศาลอุทธรณ์



มาตรา๒๘เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมาหมดแล้ว ก็ให้ศาลอุทธรณ์ออกหมายนัดกำหนดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้นไปให้คู่ความทราบล่วงน่าก่อน แลถ้าฝ่ายผู้มิได้อุทธรณ์ร้องขอสำเนาฟ้องอุทธรณ์เมื่อใด ศาลอุทธรณ์ก็ต้องอนุญาตให้สำเนาฟ้องอุทธรณ์ตามความประสงค์

กำหนดนัดวันแลเวลาที่จะพิจารณาความอุทธรณ์นั้น อย่าให้ช้าเกินไปกว่า ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนมา เว้นไว้แต่มีเหตุพิเศษเกิดขึ้น จึ่งให้กำหนดนัดเกินกว่านี้ขึ้นไปได้ แลต้องให้จดหมายบันทึกเหตุพิเศษนั้นลงไว้ด้วยจงทุกคราว แต่อย่างใดก็ดี ห้ามไม่ให้กำหนดนัดเกินกว่า ๒ เดือนขึ้นไปนับแต่วันได้รับบรรดาถ้อยคำสำนวนไว้



มาตรา๒๙ศาลอุทธรณ์จะต้องส่งหมายนัดไปยังฝ่ายโจทย์แลฝ่ายจำเลยให้รู้ล่วงน่าอย่างช้าที่สุดเพียง ๕ วันก่อนถึงวันกำหนดนัดพิจารณาความอุทธรณ์