หน้า:พรบ เพิ่มเติม วิอ ๑๒๖.pdf/2

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๑ มีนาคม ๑๒๖
เล่ม ๒๔ หน้า ๑๒๘๔
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญามีโทษนั้น แต่นี้ไป ให้เปนหน้าที่ของเจ้าพนักงานอัยการที่กล่าวแล้วนั้นเปนผู้ฟ้องแทนผู้ที่ได้รับความเสียหายเพื่อเรียกทรัพย์หรือราคาของทรัพย์ซึ่งผู้เจ้าของได้เสียไปโดยผิดกฎหมายในคดีอาญาที่ว่ามาแล้วนั้นคืนจากผู้ต้องหาได้.

มาตราคดีที่ฟ้องเรียกทรัพย์คืนดังกล่าวแล้วนั้น ให้เจ้าพนักงานอัยการยื่นรวมกันกับข้อหาในความอาญา หรือให้ทำเปนคำร้องยื่นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างที่ศาลเดิมพิจารณาความอาญานั้นอยู่ก็ได้ คำพิพากษาในเรื่องเรียกทรัพย์คืนนี้ให้ชี้ขาดลงไว้ในคำพิพากษาคดีอาญาส่วนหนึ่งด้วย คดีเช่นนี้จะแยกฟ้องเปนความแพ่งเมื่อภายหลังคำพิพากษาในความอาญานั้นถึงที่สุดแล้วก็ได้.

มาตราในทางพิจารณา ถ้าพยานหลักถานที่ได้นำสืบนั้นไม่เปนที่เพียงพอ จะให้รู้ชัดได้ว่า จำนวนหรือราคาทรัพย์นั้นมากน้อยอย่างไร หรือใครเปนเจ้าของทรัพย์นั้นแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ไต่สวนต่อไปและเรียกพยานหลักถานมาสืบประกอบเพิ่มเติมอีก.

ในคดีเช่นนี้ ศาลจะยังไม่ทำคำชี้ขาดเรื่องเรียกทรัพย์คืนแลค่าเสียหายนั้นลงในคำพิพากษาคดีอาญาก่อน แลจะรอไว้วินิจฉัยเปนคำสั่งต่อทีหลังก็ได้.

มาตราถ้าการวินิจฉัยเพื่อให้ได้ความแน่ชัดว่า จำนวนทรัพย์ที่ควรจะได้แก่ผู้ต้องเสียหายมากน้อยเพียงไรนั้นจะทำให้เปนการชักช้าแก่คดีที่พิจารณาอยู่ เช่น จะต้องคิดหักชำระบาญชีที่ยุ่งยากต่อกัน เปนต้น ดังนี้แล้ว ศาลมีอำนาจจะสั่งให้แยกคดีที่ฟ้องเรียกทรัพย์คืนนั้นออกเสียจากความอาญา แลให้พิจารณาคดีนั้นไปต่างหากส่วนหนึ่งได้ ตามความในมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตราเมื่อศาลได้พิพากษาให้คืนทรัพย์หรือให้ใช้ราคาค่าทรัพย์แก่เจ้าพนักงานอัยการ แต่ทรัพย์นั้นไม่ได้อยู่ในความรักษาของศาลแล้ว ก็ให้เปนหน้าที่ของผู้ที่ได้รับความเสียหายจะต้องขอให้ศาลบังคับคดีไปตามคำตัดสินและจะต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเปนเพื่อตนจะได้รับทรัพย์หรือราคาค่าทรัพย์นั้นคืน.

มาตราห้ามไม่ให้ศาลเรียกค่าธรรมเนียมแก่เจ้าพนักงานอัยการในการที่เปนผู้ฟ้องเดิมหรือยื่นคำร้องขอเรียกทรัพย์นั้นเลย แต่ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้นเองเปนผูเสียเสียค่า