หน้า:พรบ แก้ไข ปวพ (๒๘) ๒๕๕๘.pdf/2

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๙๘ ก

๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
หน้า ๕๒
ราชกิจจานุเบกษา

การโอนคดีตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระเทือนถึงกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินการไปก่อนที่จะมีคำสั่งให้โอนคดี และให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้นเป็นกระบวนพิจารณาของศาลแพ่งด้วย เว้นแต่ศาลแพ่งจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม”

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตราบทบัญญัติในมาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี มาตรา ๔ จัตวา มาตรา ๔ เบญจ มาตรา ๔ ฉ มาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๖/๑ ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้

(๑)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

(๒)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา ๓๐๒

(๓)คำร้องตามมาตรา ๑๐๑ ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดแล้ว ให้เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

(๔)คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่ง การอนุญาต การแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น”

มาตราให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๑๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

“คดีที่ศาลแพ่งได้รับไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือที่ได้โอนไปยังศาลแพ่งตามมาตรา ๖/๑ ให้ศาลแพ่งมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกเขตศาลได้ตามที่เห็นสมควร”

มาตราให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๔/๑ ในหมวด ๓ อำนาจและหน้าที่ของศาลลักษณะ ๒ ศาล แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรามาตรา ๓๔/๑เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม หรือเพื่อความเหมาะสมสำหรับคดีบางประเภท ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการฟ้องคดี การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐาน การวินิจฉัยคดี ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามความจำเป็น

ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”