หน้า:พรบ แก้ ปพพ (๒๕๖๕-๑๑-๐๖).djvu/3

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๙ ก

๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
หน้า ๓
ราชกิจจานุเบกษา

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๙๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๐๙๙หนังสือบริคณห์สนธินั้น ให้ทำเป็นต้นฉบับไว้ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการ โดยมีพยานลงชื่อรับรองด้วยสองคน และให้นำฉบับหนึ่งไปจดทะเบียน

ถ้าการจดทะเบียนบริษัทมิได้ทำภายในสามปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ให้หนังสือบริคณห์สนธินั้นสิ้นผล"

มาตราให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๑๐๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(๑)ทำความตกลงตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท ทั้งนี้ ควรกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา หรือข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหาข้อยุติหรือไม่สามารถลงมติระหว่างกรรมการหรือผู้ถือหุ้นไว้ด้วย"

มาตราห้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๑๒๘ในใบหุ้นทุก ๆ ใบให้กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทถ้ามี"

มาตรา๑๐ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๕๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา๑๑๕๘นอกจากจะมีข้อบังคับของบริษัทไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการมีอำนาจตามบทบัญญัติในเจ็ดมาตราต่อไปนี้"

มาตรา๑๑ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๖๒/๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

"มาตรา๑๑๖๒/๑การประชุมกรรมการอาจดำเนินการโดยการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอย่างหนึ่งอย่างใด โดยกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดห้ามไว้