หน้า:พรบ แก้ ปพพ (๒๕๖๕-๑๑-๐๖).djvu/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๙ ก

๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
หน้า ๕
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา๑๖ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๑๒๓๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(๕)เมื่อมีเหตุอื่นใดทำให้บริษัทนั้นไม่สามารถที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้"

มาตรา๑๗ให้ยกเลิกชื่อส่วนที่ ๙ การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน และความในมาตรา ๑๒๓๘ มาตรา ๑๒๓๙ มาตรา ๑๒๔๐ มาตรา ๑๒๔๑ มาตรา ๑๒๔๒ และมาตรา ๑๒๔๓ ของหมวด ๔ ในลักษณะ ๒๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ส่วนที่ ๙
การควบรวมบริษัทจำกัด

มาตรา๑๒๓๘บริษัทจำกัดจะควบรวมกันได้ โดยใช้มติพิเศษ

บริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป จะควบรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

(๑)ควบรวมกันโดยเป็นบริษัทขึ้นใหม่ และบริษัทที่มาควบรวมกันต่างหมดสภาพการเป็นนิติบุคคล

(๒)ควบรวมกันโดยบริษัทหนึ่งบริษัทใดยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคล และบริษัทอื่นที่ควบรวมกันหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล

มาตรา๑๒๓๙มติพิเศษซึ่งวินิจฉัยให้ควบรวมบริษัทจำกัด บริษัทต้องนำไปจดทะเบียน ภายในสิบสี่วันนับตั้งแต่วันลงมติ

มาตรา๑๒๓๙/๑เมื่อมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัทแล้ว แต่มีผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมคัดค้านการควบรวมบริษัท บริษัทต้องจัดให้มีผู้ซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน หรือในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ให้ใช้ราคาตามที่ผู้ประเมินราคาเป็นผู้กำหนด ถ้าผู้ถือหุ้นนั้นไม่ยอมขายภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำเสนอขอซื้อ ให้บริษัทดำเนินการควบรวมบริษัทต่อไปได้ และให้ถือว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ควบรวม

การแต่งตั้งผู้ประเมินราคาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๑๒๔๐เมื่อมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัทแล้ว บริษัทต้องมีหนังสือบอกกล่าวมติดังกล่าวภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีมติไปยังเจ้าหนี้ของบริษัทตามรายชื่อที่ปรากฏในบัญชีของบริษัท