หน้า:พรบ แต่งงาน ตปท ๑๑๖.pdf/2

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๑๔
น่า ๗๐๗
ราชกิจจานุเบกษา

ภิริยาต่อกัน แลฝ่ายชายก็ดี ฤๅฝ่ายหญิงก็ดี ไม่ได้กระทำการอันเปนที่ต้องห้ามตามกฎหมายฉนั้นแล้ว ก็นับว่า เปนอันได้กระทำการแต่งงานกันถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมาย

มาตราเมื่อชายแลหญิงทั้งสองฝ่ายก็ดี ฤๅแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ดี เปนผู้ที่อยู่ในกรุงสยามแล้ว การที่ตกลงปรองดองพร้อมใจกันที่จะเปนสามีแลภริยาซึ่งกันแลกันนั้น จะพึงพิสูทธให้เปนหลักฐานตามกฎหมายได้ในเวลาที่กระทำการแต่งงานกัน ฤๅในเวลาที่แต่งกันแล้ว โดยแสดงคำปฏิญญาณอันนั้นให้ปรากฎต่อหน้าผู้มีชื่อซึ่งรู้จักกันมากเปนพยานอย่างน้อยที่สุด ๔ คน ถ้าแต่งกันในกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงคำปฏิญญาณนี้เฉภาะหน้าเสนาบดีกระทรวงพระนครบาลฤๅผู้แทนเสนาบดีนั้น ถ้าเปนการนอกกรุงเทพฯ ก็ให้แสดงต่อผู้ว่าราชการเมืองซึ่งชายแลหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ในขณะนั้นอยู่เมืองนั้น

มาตราให้เจ้าพนักงานผู้รับคำแสดงนั้นเขียนคำปฏิญญาณดังกล่าวมาในมาตรา ๒ เปนภาษาสยามอย่างเดียว ฤๅถ้าชายหญิงคู่นั้นจะต้องการให้มีคำแปล ให้เขียนเปนภาษาไทยกับภาษาอังกฤษให้ถูกต้องกันในความหมายแลความประสงค์ทั้งสองภาษา ให้มีศุภมาศวันปีที่แต่งงานกัน มีชื่อ อายุ แลที่เกิดของชายแลหญิงนั้นทั้งสองฝ่าย ถ้าเจ้าพนักงานที่กล่าวมาแล้วนี้จะขอให้ส่งหลักฐานอันใดซึ่งจะได้เปนพยานยืนยันความที่กล่าวไว้ให้เปนที่พอใจ ก็ต้องให้มีมาแสดงด้วยเหมือนกัน แลคำปฏิญญาณเช่นนี้ให้ทำเปนสองฉบับ ลงชื่อเจ้าพนักงานที่กล่าวมาแล้ว ลงชื่อชายหญิงทั้งคู่ ลงชื่อพยานทั้งหลาย กับทั้งในที่สุด ลงชื่อบิดามารดาของชายแลหญิงทั้งสองฝ่ายฤๅแตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยทุกฉบับ ต้นฉบับคำปฏิญญาณนี้ให้เก็บรักษาแลจดบาญชีไว้ในห้องเก็บหนังสือของกระทรวงที่ทำการนั้นฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งให้สงปเก็บรักษาแลจดบาญชีไว้ในห้องเก็บหนังสือกระทรวงว่าการต่างประเทศ

มาตราถ้าผู้หนึ่งผู้ใดต้องการแลขอสำเนาคำปฏิญญาณดังกล่าวมาในมาตรา ๓ แตโดยสังเขปฤๅโดยเต็มความบริบูรณ์ก็ดี ให้คัดสำเนาแลลงชื่อเจ้าพนักงานให้เปนสำคัญว่า คัดถูกต้องกับต้นฉบับ ว่าเรียกค่าธรรมเนียมที่คัดสังเขปฤๅสำเนานั้น ภาษาไทยฉบับละ ๔ บาท ภาษาอังกฤษฉบับละ ๔ บาท

ประกาศมาณวันที่ ๙ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ เปนวันที่ ๑๐๖๕๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้