หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/34

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๓

ก็กลายเปนศาลอีกศาลหนึ่งอยู่ในกรมมหาดไทย ให้ชำระความอะไรๆทั่วไปไม่มีกำหนด

๔ กระทรวงนครบาล ศาลนี้ถ้าเปนความฟ้องศาลหลวงประทับฟ้อวก็คงตามแบบเดิม แต่เพราะเหตุที่กว่าจะฟ้องประทับมาได้เปนการเนิ่นช้าจึ่งได้ต้องเพิ่มเติมอำนาจเปนชั้นๆ คือว่าถ้าโจรผู้ร้ายปล้นสดมเกิดขึ้นอำเภอท้องที่มาแจ้งความฤาเจ้าทรัพย์มาทำคำชัณสูตรบาดแผลคำตราสินเสนาบดีกรมพระนครบาลมีอำนาจที่จะบังคับให้ติดตามตัวผู้ร้ายมาพิจารณาแลเจ้าทรัพย์ผู้ถูกบาดเจ็บยื่นเรื่องราวต่อเสนาบดีกรมพระรครบาล รับเรื่องราวมาพิจารณาแล้วส่งขึ้นให้ลูกขุนปฤกษาได้ ความในกรมพระนครบาลนี้ภายหลังมาเจือปนเป็นความรับสั่งโดยมาก ด้วยเหตุว่าเมื่อมีผู้ร้ายปล้นสะดมฆ่ากันตายแห่งใด กรมพระนครบาลต้องนำความกราบบังคมทูล รับสั่งให้รีบเร่งชำระ เมื่อได้ความประการใดมักจะต้องคัดขึ้นกราบบังคมทูลก่อน แล้วสั่งให้ส่งลูกขุนปฤกษา เมื่อได้คำปฤกษามาแล้วต้องนำขึ้นกราบบังคมทูลก่อนที่จะลงโทษอันหนัก เพราะฉนั้นความจึ่งเจือเปนความรับสั่งโดยมาก การที่เปน ดังนี้ก็ด้วยพระเจ้าแผ่นดินจะทรงรงับปราบปรามผู้ร้ายให้สงบได้โดยเร็ว จึ่งต้องเปนพระราชธุระมาก แต่ถ้าเปนความหัวเมือง ถึงจะเปนความนครบาลแท้ ถ้ามีอุทธรณ์บ้างเล็กน้อย กระทรวงที่ได้บังคับการหัวเมืองนั้นเรียกความเข้ามาณกรุงเทพฯแล้ว ถึงว่าโจทจำเลยจะยอมความชั้นอุทธรณ์ไม่ว่ากล่าวกัน คงแต่ความเดิมชั้นนครบาลก็มักจะว่ากล่าวไปเสียแต่ในกรมนั้นต่อไปอีก ต่อเมื่อใดขัดข้องไม่สดวกจึ่งได้สั่งไปกรมพระนครบาล ฤาที่เปนความที่ข้าหลวงในกรมนั้นออกไป