หน้า:พระราชดำรัสฯ แก้ไขการปกครองแผ่นดิน - ๒๔๗๐.pdf/42

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๑

ถ้าจะตรวจเห็นว่าลูกขุนว่าชอบลงเนื้อเห็นไปดวย ก็มีอำนาจเท่ากันกับเปนลูกขุนอีกชั้นหนึ่ง ไม่มีอำนาจที่จะบังคับคู่ความซึ่งไม่ยอมมาเสีย แต่คำลูกขุนนั้นให้ยอมอย่างไรได้ เพราะถ้าจะมาร้องฎีกาตัดสินผิดชอบก็คงมีโทษชั้นเดียวเท่ากับที่ไม่ฟังคำพิพากษาชอบของลูกขุน ถ้าแม่กองเห็นความไปอย่างอื่น ก็เปนช่องที่ลูกความจะสงไสยว่าแม่กองว่าอย่างหนึ่งลูกขุนว่าอย่างหนึ่งมาร้องฎีกา เมื่อร้องผิดก็มีโทษเพียงไม่ฟังคำปฤกษาที่ชอบเหมือนกัน แม่กองลูกขุนก็ไม่เปนการมีประโยชน์อันใดสักอย่างเดียว ความจะแล้วด้วยแม่กองสักเรื่องหนึ่งก็เกือบจะไม่มี เปนแต่คั่นสำหรับจะให้คู่ความชักถ่วงความให้ช้าอีกคั่นหนึ่งเท่านั้น ส่วนความที่จะแล้วได้จริงนั้นต้องมาแล้วอยู่ชั้นถวายฎีกาโดยมาก เมื่อเปนดังนี้ฎีกาเดือนหนึ่งก็ถึง ๑๒๐๑๓๐ ฉบับ พระเจ้าแผ่นดินแจกพระราชทานให้ตำรวจชำระเปนศาลรับสั่ง ก็ชำระเรื่อยไปทั้งความอุทธรณ์แลความเดิมบ้าง ชำระแต่ชั้นอุทธรณ์บ้าง แจกไห้เสนาบดีตามกรมไปว่ากล่าวชำระบ้าง เมื่อมีราชการน้อยก็ได้ทรงตัดสินข้อความเหล่านั้นไปได้ เมื่อราชการอื่น ๆ มากขึ้นก็ไม่มีเวลาทรงตัดสินความซึ่งมีปีละพันเสศสองพันได้ ต้องตั้งศาลฎีกาเลือกเอาพระบรมวงษานุวงษข้าราชการเปนที่ไว้วางพระราชหฤไทยขึ้นเปนแม่กองตรวจตัดสิน แม่กองนั้นก็ต้องเรียกสำนวนแลคำปฤกษานั้นมาตรวจเหมือนกับแม่กองชั้นลูกขุนอีกเที่ยวหนึ่ง ครั้นตัดสินไปบางเรื่องคู่ความก็ไม่ยอมตามคำตัดสินนั้น กลับเข้ามาถวายฎีกากล่าวโทษตระลาการศาลฎีกา จนต้องทรงตรวจตัดสินเอง จึ่งจะเป็นอันสำเร็จเด็จขาดได้ก็มี แต่ที่แล้วสำเร็จไปได้ในศาลชั้นฎีกา