ที่จะต้องใช้กำลังทหาร ยกเปนตัวอย่างดังเช่นที่ต้องส่งกำลังไปปราบปรามพวกผีบุญที่ก่อการจลาจลในมณฑลอิสาณเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ และปราบปรามพวกผู้ร้ายที่ก่อการจลาจลในมณฑลพายัพเมื่อ ร.ศ. ๑๒๑ เปนต้น ที่จะกะเกณฑ์เลขที่ไม่ได้ฝึกหัดเข้ากองทัพให้เจ้าหมู่นายหมวดควบคุมไปทำการรบพุ่งอย่างแต่ก่อน ย่อมเปนการไม่สมควรแก่เวลาเสียแล้ว ต้องอาไศรยใช้ได้แต่กำลังทหารที่ได้ฝึกหัดจัดแบบแผนตามวิธียุทธ์ในเวลาปัตยุบันนี้ เพราะฉนั้นในบัดนี้นับว่าไพร่พลที่มิได้ฝึกหัดไม่มีประโยชน์และไม่เปนกำลังแก่ราชการทหารตรงตามความมุ่งหมายของประเพณีแต่เดิมเสียแล้ว ใช่แต่เท่านั้นราชการทหารไปตกหนักอยู่แก่พวกไพร่พลบางกรมที่ถูกกะเกณฑ์เข้าฝึกหัดเช่นนี้ชื่อว่าไม่เปนยุติธรรม จึงเปนการสมควรและจำเปนที่จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติจัดวิธีการเกณฑ์ทหารให้เปนแบบแผนอันสมควรแก่ปัตยุบันสมัย และให้เปนยุติธรรมโดยให้ไพร่พลทั้งหลายมีหน้าที่รับราชการเสมอหน้ากันและผ่อนผันให้เบาแรงโดยมีกำหนดเวลาที่จะต้องรับราชการน้อยลงกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้ว่า หมวด ๑ ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร "รัตนโกสินทรศก ๑๒๔" |
มาตรา๒พระราชบัญญัตินี้จะโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ในหัวเมืองมณฑลใดเมื่อใด จะได้โปรดเกล้าฯ ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเปนสำคัญ มาตรา๓พระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้มีมาแล้ว บทใดมีข้อความขัดขวางต่อพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกพระราชกำหนดกฎหมายบบทนั้นเสีย เว้นแต่พระราชกำหนดกฎหมายเดิมที่สำหรับใช้ในเวลามีศึกสงครามนั้น ให้พึงเข้าใจว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ลบล้างด้วยประการใด หมวด ๒ ว่าด้วยอายุคนรับราชการทหาร มาตรา๔บรรดาชายฉกรรจ์นอกจากจำพวกต่าง ๆ ที่ได้ยกเว้นตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ครบ ๑๗ ปีเต็มบริบูรณ์นั้นแล้ว มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารตามกำหนดเวลาที่⟨ว่า⟩ไว้ในพระราชบัญญัตินี้ทุกคน มาตรา๕ชายฉกรรจ์ที่มีพายุพ้น ๔๐ ปีไปแล้ว ไม่ต้องมีหน้าที่รับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด ๓ ว่าด้วยกำหนดเวลารับราชการทหาร มาตรา๖ราชการทหารนั้น จำแนกเปน ๔ ประเภท คือ ๑ กองประจำการ ๒ กองเกินอัตรา ๓ กองหนุนชั้นที่ ๑ ๑ กองหนุนชั้นที่ ๒ |
หน้า:พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124.PDF/2
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
วันที่ ๓ กันยายน ๑๒๔
เล่ม ๒๒ หน้า ๕๑๔
ราชกิจจานุเบกษา