หน้า:พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘.pdf/7

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก

๘ กันยายน ๒๕๕๘
หน้า ๓๒
ราชกิจจานุเบกษา

คณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีในการประกาศเขตติดโรค

(๒)ให้คําแนะนําแก่อธิบดีในการประกาศโรคระบาด

(๓)ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรืออธิบดีในการประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี สงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร

(๔)ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

ให้นําความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับแก่กรณีวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจาก ตําแหน่งของคณะกรรมการด้านวิชาการโดยอนุโลม

มาตรา๑๗ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา๑๘ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูล หรือเอกสารใด ๆ ที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้

มาตรา๑๙ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ โดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)เป็นหน่วยงานกลางในการดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาเสนอนโยบาย และวางระบบ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ

(๒)จัดทําระบบในการเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และโรคระบาด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ

(๓)จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ

(๔)เป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมสภาวการณ์ของโรคติดต่อและโรคระบาด

(๕)เป็นหน่วยงานประสานงานในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดําเนินการของ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ

(๖)ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้เกิดการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ