หน้า:พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก

๘ กันยายน ๒๕๕๘
หน้า ๓๓
ราชกิจจานุเบกษา

(๗)ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานทางด้านวิชาการ เวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม หรือวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคติดต่อ

(๘)ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ หรือคณะอนุกรรมการ มอบหมาย

หมวด ๓
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

มาตรา๒๐ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ประกอบด้วย

(๑)ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ

(๒)ปลัดจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด หัวหน้าสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการ

(๓)นายกเทศมนตรี จํานวนหนึ่งคน และนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวนหนึ่งคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ

(๔)ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไป จํานวนหนึ่งคน ผู้อํานวยการ โรงพยาบาลชุมชน จํานวนสองคน และสาธารณสุขอําเภอ จํานวนสองคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ

(๕)ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จํานวนหนึ่งคน ซึ่งผู้ว่า ราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ

ในกรณีที่จังหวัดใดมีโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐอื่นนอกจาก (๔) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐนั้น จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการด้วย

ในกรณีที่จังหวัดใดมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จำนวนแห่งละหนึ่งคน และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกประจำด่าน จำนวนแห่งละหนึ่งคน เป็นกรรมการด้วย

ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ข้าราชการในสังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ดําเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรค จํานวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา๒๑การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๐ (๓) (๔) และ (๕) และกรรมการตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด