หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

กล่าวความแต่สร้างกรุงศรีอยุทธยามาจนถึงในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร จบเพียงจุลศักราช ๑๑๕๒

หนังสือพระราชพงษาวดารที่หอพระสมุดได้มามีต่างกันเปน ๕ ความดังนี้ ทำให้รู้ได้แน่ว่า หนังสือพระราชพงษาวดารมีอยู่ก่อนกรมสมเด็จพระปรมานุชิต ๆ มิได้ทรงแต่งพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ขึ้นใหม่ดังที่เข้าใจกันมาแต่ก่อน จึงเปนเหตุให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หารือว่า หนังสือพระราชพงษาวดารนี้จะแต่งในครั้งใดบ้างแน่ จึงได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ดังแจ้งอยู่ในพระราชหัดถเลขานั้น.

ครั้นต่อมาในรัชกาลปัตยุบันนี้ เมื่อ ร.ศ. ๑๓๐ นายเสถียรรักษา (กองแก้ว) ให้หนังสือพระราชพงษาวดารแก่หอพระสมุดอิกฉบับ ๑ ต้นฉบับเขียนครั้งกรุงธนบุรีเมื่อจุลศักราช ๑๑๓๖ สำนวนยังเก่ากว่าฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ ขึ้นไปอิก หนังสือฉบับนี้หอพระสมุดได้ไว้แต่เล่มเดียว ทราบไม่ได้ว่า จะขึ้นต้นลงท้ายเพียงไร แลกี่เล่มจบ แต่ได้ความรู้เติมขึ้นอิกชั้นหนึ่งว่า หนังสือพระราชพงษาวดารความพิศดารมีมาแต่ครั้งกรุงเก่าแน่ ฉบับจุลศักราช ๑๑๔๕ แต่งหรือชำระครั้งกรุงธนบุรี จึงผิดสำนวนกับฉบับนี้ น่าเสียดายที่ไม่ได้หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับจุลศักราช ๑๑๓๖ มาทันถวายเมื่อกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ถ้าได้ทอดพระเนตรเห็น จะต้องพระราชหฤไทย แลบางทีจะได้รับพระราชทานพระบรมราชาธิบายพิศดารออกไปอิก.

หนังสือพระราชพงษาวดารทุก ๆ ฉบับที่หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมา น่ายินดีที่บังเอิญมีข้อความตอนพระเจ้ากรุงศรีสัตนา