หน้า:พื้นเมืองเชียงใหม่ - สนร - ๒๕๑๔.pdf/3

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
คำนำ

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่กรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้ ควรจะแถลงให้ทราบถึงที่มาว่า มีปฐมเหตเกิดขึ้นอย่างไร เพื่อเป็นประวัติในการดำเนินงานตามสมควร

ระหว่างที่กรรมการจัดพิมพ์เอกสารฯ กำลังเสาะหาต้นฉบับเอกสารสำคัญของชาติที่หาได้ยากและหนังสือที่พิมพ์แล้วแต่ขาดตลาดหาฉบับไม่ได้มาพิมพ์เพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติอันทรงค่าของชาติ โดยได้ดำเนินการจัดพิมพ์ไปแล้วหลายเรื่อง รวมทั้งเลือกสรรต้นฉบับรอระยะเวลาพิมพ์ตามลำดับอยู่ก็อีกหลายเรื่องนั้น นายสงวน โชติสุขรัตน์ ผู้สนใจสะสมเอกสารเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ได้แจงมาที่นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณคดี ว่า มีตำนานเชียงใหม่อยู่รวมด้วยกัน ๘ ผูก ถ้าคณะกรรมการต้องการ ตนจะเป็นผ้คัดและพิมพ์ส่งมาให้ โดยขอค่าคัด ค่าแปล ค่าพิมพ์ เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท (หนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน) ซึ่งนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้นพเสนอขอรับการพิจาณาในที่ประชุมกรรมการ ครั้งที่ ๖/๒๕๐๙ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๐๙ โดยแถลงต่อที่ประชุมว่า ทราบมาว่า ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่นี้เขียนไว้เป็นอักษรไทยยวน (โยนก) หรือเป็นอักษรพื้นเมืองและเป็นคำเมือง กล่าวถึงประวัติศาสตร์การสร้างอาณาจักรลานนาไทยตั้งแต่แรกสืบมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ นายสงวน โชติสุขรัตน์ ได้ฉบับไทยยวนเรื่องนี้มาจากพระมหาคำหมื่น วุฒิญาโณ วัดเจดีย์หลวง นครเชียงใหม่ คงจะเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่มากก็น้อย และคงจะให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเพิ่มขึ้นจากที่เราเคยทราบอยู่อีกเป็นแน่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรลานนาไทยเป็นอันมาก ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วลงมติว่า

"สำหรับตำนานเชียงใหม่ ๘ ผูกนั้น เมื่อขอคิดค่าคัด ค่าแปล ค่าพิมพ์ เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท อนุมัติให้ดำเนินการได้" โดยมอบให้นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เป็นผู้ติดต่อกับนายสงวน โชติสุขรัตน์ และให้นายชิน ชุมรุม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็นผู้ดำเนินการทางการเงิน

ต่อมาเมื่อได้รับต้นฉบับคำแปลตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ซื้อจากนายสงวน โชติสุขรัตน์ มาแล้ว ได้นำเรื่องเข้าขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมกรรมการจัดพิมพ์เอกสารฯ อีกครั้งหนึ่ง ในการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๑๐ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๑๐ โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เสนอว่า "ตำนานเชียงใหม่ ๘ ผูกซึ่งที่ประชุมลงมติให้ตกลงกับนายสงวน โชติสุขรัตน์ ว่า ให้แปล คัด และพิมพ์ส่งมาให้ จะให้ค่าจัดการเป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาทนั้น นายสงวน โชติสุขรัตน์ ได้แปลและพิมพ์ส่งมาให้แล้ว มีข้อสังเกตที่น่าเป็นห่วงอยู่อย่างหนึ่งว่า เท่าที่นายสงวน โชติสุขรัตน์ ได้แปลแล้วคัดเขียนส่งมาให้ ๘ ผูกนี้