หน้า:มรดก - เซี้ยง - ๒๔๕๕.pdf/10

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๕)
ฎีกา ๑๘๘/๑๑๘ มรดกนั้นเปนของกลางในระหว่างญาติที่ปกครองมา
อ. ขำ–น. โต. ด้วยกัน แลผู้ใดฝ่ายหนึ่งฟ้องขอให้ศาลเรียกมาแบ่ง
ได้ ถึงเดิน ๑ ปีแล้วก็ดี.
ฎีกา ๒๑๕/๑๒๘ เพราะฉนั้น การแบ่งมรดกเมื่อพ้น ๑ ปีแล้ว จึงเปน
อ. จู–น. บุตร์. ดังนี้ คือ (๑) สิ่งใดที่ยังปกครองอยู่ด้วยกัน แบ่ง
ได้ตามส่วนในกฎหมาย (๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ปกครอง
ด้วยกัน ไม่ต้องแบ่ง.
(กฎหมายมรดกเปนกฎหมายเก่า ซึ่งได้ตรา
ขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรส
ประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว ข้อบัญญัติในบางแห่ง เมื่อ
เทียบกับกาลสมัยแลขนบธรรมเนียมได้เปลี่ยนแปลงผิดกว่า
แต่ก่อนมาก เมื่อเอาข้อบัญญัตินั้น ๆ มาเทียบดูกับ
สมัยนี้ ก็กลับทำให้เห็นว่า ไม่เปนยุติธรรมแก่คู่ความ
เพราะฉนั้น ในคดีเรื่องใดที่ศาลเห็นว่า กฎหมายแบ่งมรดก
ฎีกา ๔๕๔/๑๒๑ ผิดความยุติธรรมมาก ก็โปรดเกล้าฯ ให้ศาลมีอำนาจ
อ. กัน–อ. แพ. นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระ
กฎ. ยุติ. ที่ ๑๑. บรมราชวินิจฉัยเปนพิเศษได้.)
มรดก ๔๕. อนึ่ง ในการแบ่งมรดกนั้น ไม่จำเปนต้องฟ้องขอให้
ศาลแบ่งเสมอไป บรรดาญาติที่จะได้รับมรดกด้วย
กันจะตกลงแบ่งปันมรดกกันเองก็ได้ แลเมื่อแบ่ง
ปันกันเสร็จแล้วไปแล้ว จะเรียกคืนมาแบ่งกัน
ใหม่ไม่ได้
ฎีกา ๓๗๑/๑๒๑ ส่วนการตกลงจะแบ่งปันกันนั้น ไม่จำเปนต้อง
อ. สุน–ขุนโภคา. ทำเปนลายลักษณอักษร สัญญากันด้วยปากเปล่า