หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๗) a.pdf/12

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๓๑

ด้วย ถ้าจะวางบทบังคับลงไปไว้ว่า สัญญาจะมาเสนอต่อสภา ก็จะเป็นการขัดกัน และจะปะปนหน้าที่บริหารและนีติบัญญัติ โดยเหตุนี้ นานาประเทศจึ่งถือหลักสำคัญว่า สัญญาใดที่เกี่ยวกับนีติบัญญัติแล้ว จะต้องได้รับความเห็นชอบของสภา เช่นกับว่า จะเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายที่จะให้เป็นไปตามสัญญา ก็ต้องได้รับความยินยอมจากสภา แต่ว่า สิ่งใดที่เกี่ยวกับแผนกบริหารแล้ว ก็เป็นของคณะกรรมการราษฎร โดยเหตุนี้ นานาประเทศจึ่งถือหลักสำคัญว่า นีติบัญญัติแล้ว จะต้องได้รับความเห็นชอบของสภา เพื่อกล่าวความสำคัญให้เด่นขึ้น มักจะกล่าวว่า สัญญาใดมีบทบัญญัติเป็นภาระในการเงินแห่งประเทศหรือเปลี่ยนแปลงอาณาเขตต์ ก็ให้เสนอแก่สภา บางประเทศก็มีลง และที่เราบัญญัติไว้ในนี้ก็กินความถึงสัญญาทางพระราชไมตรีทุกฉะบับ ที่จะเว้นก็เกี่ยวแต่ฉะเพาะการบริหาร อนึ่ง การเจรจาสัญญานั้นเป็นหน้าที่การบริหารโดยแน่แท้ ถ้าแม้ว่าสภาจะเป็นผู้เจรจาสัญญาต่าง ๆ แล้ว ก็จะยุ่งยาก เพราะมีลักษณะดิลิเกตมาก มีข้อความบางประเทศซึ่งจะเจรจากันและเกี่ยวด้วยส่วนได้เสีย ฉะนั้น ในรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ไม่มีบทบัญญัติที่จะให้สภาเจรจาสัญญา การเจรจาสัญญานั้นเป็นการบริหาร แต่ว่า สัญญานั้นจะต้องนำมาเสนอเพื่อความเห็นชอบของสภาก่อน และการที่นำมาเสนอนั้นมิใช่ว่าสภาจะพิจารณาถ้อยคำก็หาไม่ แต่ว่า พิจารณาถึงหลักการในสัญญ่ว่าจะเอาหรือไม่ มิใช่พิจารณาเป็นมาตรา ๆ ไป เพราะ