หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๗) a.pdf/14

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๓๓

เพื่อว่า สภาจะได้มีโอกาสตรวจตราดูให้แน่นอน และป้องกันเสียหายมิให้เกิดขึ้น จึ่งเห็นว่า ควรต้องผ่านสภา

หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกล่าวว่า เท่าที่หลวงแสงฯ ชี้แจงถึงในเรื่องภาระติดพันในเรื่องการเงินนั้น ความจริง สัญญาที่เกี่ยวแก่การเงินนั้นไม่ใช่เป็นสัญญาระหว่างประเทศอะไรเลย เช่นว่า ทางคลัง จะต้องการกู้เงินเขา เราก็ออกใบบอนด์ทางโน้น แล้วต่อไป เราก็มาทำเป็นงบประมาณขึ้น และได้กล่าวแล้วว่า งบประมาณนั้นจะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ และในการที่กล่าวไว้เช่นนี้ ก็คิดว่า คลุมถึงแล้ว กล่าวคือ สิ่งใดที่เกี่ยวกับภาระ สิทธิ และหน้าที่บุคคล อันจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติแล้ว ก็ต้องนำเสนอสภา

นายดิเรก ชัยนาม กล่าวว่า ตามความในวรรคท้ายนี้ เห็นชอบแล้ว แต่อยากจะขอกล่าวว่า เท่าที่ได้สอบถามท่านผู้ที่มีความรู้ ซึ่งได้กรุณาอธิบายว่า ในเรื่องหนังสือสัญญานั้น ประเทศต่าง ๆ เขาทำกันอยู่เป็นสามอย่าง คือ ๑) สัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนานาประเทศ ต้องนำมาสู่สภาเพื่อวินิจฉัยทุกเรื่อง ๒) เลือกเอาฉะบับที่เปลี่ยนแปลงอาณาเขตต์ หรือที่จะต้องออกพระราชบัญญัติบังคับให้เป็นไปตามสัญญาเพื่อพลเมืองปฏิบัติตาม ๓) ไม่ต้องเสนอเลย และให้เป็นหน้าที่ทางบริหารทำ ทั้งสามอย่างนี้ เท่าที่ได้ยิน เห็นว่า ประเภทที่บัญญัติว่า สัญญาทุกชะนิดต้องเสนอต่อสภานั้น งานเดิรช้าลำบากที่สุด ส่วนที่หลวงแสงฯ กล่าวถึงการอนุญาตให้สร้างทางรถไฟนั้น เห็นว่า เรื่องเช่นนี้ควรจะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา เช่น