หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๗) a.pdf/18

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๓๗

พระราชบัญญัติ เท่านั้น ส่วนที่อยู่ในอำนาจทางบริหาร เราจะเรียกเป็น พระราชกฤษฎีกา และที่ว่า อันใดจะอยู่ในอำนาจนีติบัญญัติหรือบริหารนั้น จะได้พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป จึ่งหวังว่า ต่อไป ปัญหาเช่นนี้คงจะไม่มีขึ้นได้

นายจรูญ ณบางช้าง กล่าวว่า เมื่อได้ฟังคำอธิบายเช่นนี้ เข้าใจว่า ต่อไป คณะกรรมการราษฏรจะได้พิมพ์คำชี้แจงอันเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นเพื่อกันความเข้าใจผิด

ประธานสภาฯ กล่าวว่า เมื่อหมดอภิปรายแล้ว ก็ขอให้ลงมติรับรองมาตรา ๕๖ นี้ต่อไป สมาชิกทั้งหมดลงมติเห็นชอบด้วย เป็นอันว่า ที่ประชุมสภารับรองความในมาตรา ๕๖ ดั่งที่ได้พิจารณามาแล้ว

มาตรา ๕๗ ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า เนื่องแต่เราได้แก้ความในมาตรา ๓๓ ฉะนั้น ในมาตรานี้ จึ่งขอแซกคำว่า "๓๓ และ" ลงข้างหน้าเลข ๔๖ กับเติมคำว่า "สนิง" ลงข้างหลังคำว่า "รับ" ในบรรทัดที่ ๓ เพราะความใน ๒ มาตรานี้กินความถึงกัน และคงให้อ่านมาตรา ๕๗ ดั่งนี้

"ภายในบทบังคับแห่งมาตรา ๓๓ และ ๔๖ บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการ

๖๘