หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๗) a.pdf/21

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๔๐

รัฐธรรมนูญนี้ ก็คือว่า เราตั้งหน่วยขึ้นสำหรับรับผิดชอบในราชการแผ่นดิน ถ้าหากหน่วยนั้นมีจุดมีด่าง ก็ต้องเป็นจุดเป็นด่างทั้งคณะ ความสำคัญนั้น ก็คือ การเลือกหน่วยไม่ผิด แต่ข้อนี้ก็ไม่เถึยง เพราะอาจจะมีได้เหมือนกัน อีกประการหนึ่ง เราก็ถือว่า ร่วมชีวิตกันแล้ว เมื่อจะมีผิดดั่งว่า ก็จำเป็นจะต้องร่วมกันรับผิด ฉะนั้น จึ่งขอรับไว้ให้เป็นธรรมเนียม เพื่อว่า ถึงคราวฉุกเฉิน ก็จะเปลี่ยนตัวทำกันได้ง่าย และสะดวกต่อวิธีปฏิบัติ

พระยาเทพวิทุรฯ กล่าวว่า ตามหลักในเรื่องใครเซ็นนี้ อาจจะเป็นไปได้อย่างที่ว่า แต่ในรัฐธรรมนูญ ดั่งจะเห็นในบางประเทศ เช่น เบลเยียม เขียนว่า จะต้องเซ็นโดย a Ministre ซึ่งหมายว่า คนหนึ่งคนใด แม้ในอังกฤษก็เขียนว่า shall be countersigned by one of the Principal Secretaries ซึ่งเข้าใจว่า มีอยู่ ๔ คน และเซ็นแทนกันได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็นเสนาบดีคนนั้นคนนี้เซ็นแล้ว ถึงเวลาฉุกเฉิน ก็จะลำบาก การงานก็จะขัดกันได้ จึ่งขอสนับสนุนว่า วิธีการที่จะให้เป็นธรรมเนียมโดยกรรมการราษฎรคนใดคนหนึ่งเซ็นตามร่างนี้ดีแล้ว

หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกล่าวว่า เรื่องนี้ได้พูดกันเป็นที่เข้าใจในคณะอนุกรรมการฯ แล้วว่า การเซ็นนั้น ผู้ใดจะเซ็นก็ได้ และต้องเข้าใจว่า การเซ็นนั้นก็ต้องเป็นไปโดยความยินยอมด้วยกันทั้งคณะ แต่ที่ไม่เขียนลงไว้อย่างในมาตรา ๘ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็เพราะเป็น