หน้า:รายงานการประชุม สผ (๒๔๗๕-๑๑-๒๗) a.pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๒๓

คำอนุมัติและไม่อนุมัติของสภาอันกล่าวนี้ ท่านว่า ให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ" และได้กล่าวต่อไปว่า ความประสงค์ของมาตรานี้ คือว่า ในปีหนึ่ง สภาไม่ได้ประชุมกันทุกวัน แต่ว่า ในการบริหารราชการนั้น ต้องเดิรอยู่ทุกวัน จะเฉยมิได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นขึ้นที่จะต้องออกกฎหมายบังคับเพื่อกิจการใดการหนึ่งแล้ว แต่สภามิได้ประชุมกัน และกฎหมายจำเป็นต้องออก ก็จะเกิดขัดกันขึ้น เพราะฉะนั้น จึ่งบัญญัติช่องทางไว้เพื่อความสะดวกในราชการ คือ มีทางที่จะออกกฎหมายบังคับได้ คำว่า "พระราชกำหนด" ในมาตรานี้ หมายความว่า กฎหมายที่ออกโดยคณะกรรมการราษฎรกับพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้นำผ่านสภาผ่อน เพราะฉะนั้น จึ่งเปลี่ยนชื่อเสีย แต่ที่จริงนั้น การออกฎหมายนั้นเป็นอำนาจฉะเพาะเจาะจงของสภา หากว่าความจำเป็นบังคับ ก็ต้องให้มีไปชั่วคราว ครั้นเมื่อสภาประชุมกันเข้าแล้ว จะต้องเอาพระราชกำหนดนั้นมาเสนอ เพื่อสภาจะได้ตรวจพิจารณาว่า จะควรอนุมัติหรือไม่ คือว่า จะเห็นสมควรหรืออย่างไร ถ้าหากว่า เห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็เป็นพระราชบัญญัติใชับังคับได้ต่อไป ถ้าไม่เห็นด้วย ก็เป็นอันตกไป ด้วยความประสงค์อย่างนี้ จึ่งบัญญัติมาตรานี้ไว่ และทั้งเป็นข้อที่รัฐธรรมนูญนานาประเทศมีอยู่ด้วยเหมือนกัน

พระยาราชวังสันกล่าวว่า ในการที่จะพูดต่อไปนี้ ความประสงค์ก็เพื่อแก้ไขถ้อยคำบางคำให้สละสลวยขึ้นเท่านั้น ฉะนั้น ในมาตรา ๕๒